วันพฤหัสบดี

รวยด้วยแฟรนไชส์ :สร้างแฟรนไชส์ ต้องให้ได้อย่างนี้นะพี่ Franchise model

ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะประกอบด้วยวิธีการหลายๆ ด้าน และไม่สามารถที่จะเน้นงานด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การสร้างองค์ประกอบรวมในการทำธุรกิจที่ดี แกนหลักของระบบงานเป็นตัวนำ สามารถจะสร้างพื้นฐานการบริหารที่ดีขึ้นได้ หลักการต่างๆ ในรายละเอียดในแต่ละส่วนสามารถที่จะยึดเป็นหลักการดำเนินการดังนี้


1. สร้างระบบการบริหารงานหลายแบบ ในการวางระบบงานสาขาหรืออาจจะเป็นสาขาของบริษัทเองโดยตรง หรือระบบ Franchise และรวมถึงร่วมลงทุน Joint Venture ก็ตามควรจะมีวิธีการบริหารหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดการขยายงานในแบบเดียวเกินไป เพราะในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน การวางงานในหลายรูปแบบจะได้ช่วยนำข้อดี ข้อเสียมาปรับปรุงระบบโดยรวมทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น


2. สร้างตัวอย่างสาขาให้เด่น

รวยด้วยแฟรนไชส์:3 ปัจจัยเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์

FRANCHISE TIP : 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์ 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อคิด 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์เพื่อให้ผู้แฟรนไชซีใช้ในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ดังต่อไปนี้ 

1.ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชซี ดังนั้นแฟรนไชซีจึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ 

ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆ เรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ เพราะหากแฟรนไชซีไม่สามารถปฎิบัติได้อย่างที่แฟรนไชซอร์ทำแล้วละก็ตามธรรมชาติผู้รับผิดชอบก็ต้องหาหนทางอื่นที่จะทำ เนื่องจากต้องรับผิดชอบทำให้การทำงานเกิดการเบี่ยงเบนออกจากมาตรฐานต่างๆ ได้

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:พี่สร้างร้านแฟรนไชส์ต้นแบบแล้วหรือยัง Franchise Pilot Project


franchise/ แฟรนไชส์

Franchise Pilot Project ร้านต้นแบบแฟรนไชส์

         ถ้าจะกล่าวถึงการเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้น ร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project ถือว่าเป็นการเริ่มต้นระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ที่สำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นจุดหลักในการเป็นต้นร่างของ โครงการ ที่เป็นภาพที่ เห็นเด่นชัดที่สุด เป็นแหล่งข้อมูล ในการจดบันทึก ทั้งตัวเลขและ วิธีการบริหารร้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษา ในการสร้างระบบ แฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบต่อไป
         นอกจากนี้ Pilot Project ยังมี ประโยชน์อีกมากมาย เช่น เป็นร้านตัวอย่าง เป็นสถานที่ฝึกงานของ แฟรนไชซี่ได้อีกด้วย เมื่อตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจ ในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ ที่จะบอกถึงทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย จะบอกถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง
 .:: ขั้นตอนของการทำ Pilot Project มีดังต่อไปนี้คือ ::.
1. วัตถุประสงค์

วันศุกร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:แบล็คแคนยอน Black Canyon Coffee


อ่านแล้วรวย     "รวยด้วยแฟรนไชส์"  วันนี้เลือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอีกแบรนด์  "แบล็คแคนยอน คอฟฟี่" แฟรนไชส์จำหน่ายและให้บริการ กาแฟ อาหาร และเครื่องดื่มหลากหลายชนิด โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ คือ หมวดกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ ได้แก่ กาแฟร้อน, กาแฟเย็น, น้ำผลไม้, ไอศครีม, ของหวาน

ลักษณะกิจการร้านอาหาร
ชื่อธุรกิจ (ไทย)แบล็คแคนยอน คอฟฟี่
ชื่อธุรกิจ (อังกฤษ)BlackCanyon Coffee
ความเป็นมา
บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2536 เพื่อประกอบกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "แบล็คแคนยอน"

ธุรกิจของบริษัทฯ คือการเปิดบริการร้านกาแฟ และอาหารในศูนย์การค้าชั้นนำ ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการขยายสาขามีทั้งที่บริษัทบริหารเองและสาขาระบบ "แฟรนไชส์"

โดยทุกร้านจะตกแต่งสไตล์คันทรี่ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "กาแฟ" ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายประเภท รสชาติอร่อย เป็นกาแฟที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า "มีคุณภาพเยี่ยม" คัดเลือกจากกาแฟแท้ 100% จากสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของโลก
ลักษณะสินค้า
และบริการ
  • หมวดกาแฟ จำนวนมากกว่า 30 รายการ อาทิ กาแฟเย็นแบล็คแคนยอน เม็กซิกัน แบล็คค๊อฟฟี่แชมป์ กาแฟร้อนแบล็คแคนยอน โกลดี้แบล็ค เอสเปรสโซ มอคคา บลูเมาเทน เวียนนา คาปูชิโน คาเฟ ลาเต้ มอคคาลาเต้ มอคคาปูชิโน และกาแฟรสชาติต่าง ๆ อีกมากมาย
  • หมวดเครื่องดื่มทั่วไป จำนวนมากกว่า 20 รายการ อาทิ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำสัปปะรด น้ำลิ้นจี่ นมสดร้อน-เย็น ช็อคโกแลตร้อน - เย็น ชามะนาว ชาร้อน - เย็น น้ำอัดลม เบียร์ เป็นต้น
  • หมวดอาหาร จำนวนมากกว่า 100 รายการ อาทิ ซุปสลัด เฟรนช์ฟราย แซนวิช สเต็ก สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ข้าวอบ ยำ ไส้กรอก ไก่ทอด ต้มยำ อาหารตามสั่งต่าง ๆ เป็นต้น 
ประเทศThailand  Thailand
ค่าแฟรนไชส์600,000 บาท
จำนวนสาขา206 สาขา
รายละเอียดสาขาปัจจุบันบริษัทมีสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ทั้งสิ้น 36 สาขา ใน 7 ประเทศ ได้แก่ สิงค์โปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ยูเออี จีนและอินโดนีเซีย
นโยบาย
การขยายสาขา
ขายแฟรนไชส์
การลงทุน
  • ค่าแฟรนไชส์ (Franchise Fee) 
    ค่าแฟรนไชส์ คือ ค่าธรรมเนียมการให้สิทธิ์ใช้ชื่อ "แบล็คแคนยอน (Black Canyon)" เพื่อเปิดดำเนินธุรกิจขายอาหาร และเครื่องดื่ม

    โดยมีอายุสัญญา 10 ปี และต่ออายุได้อีกทุก ๆ 10 ปี การให้สิทธิตามสัญญานี้จะกำหนดขอบเขตเฉพาะสถานที่ ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น
ค่าแฟรนไชส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 
    1. ร้านกาแฟ (Coffee Corner/ KIOSK) จำหน่ายเฉพาะกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหารว่าง ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 50 ตร.ม.
      หมายเหต : การขายประเภทนี้ ผู้รับสิทธิ์จะไม่ประกอบหรือปรุงอาหารภายในร้าน และจะจำหน่ายเฉพาะอาหารว่างเท่านั้น
      **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 600,000 บาท **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 150,000 บาท 
    2. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร (Restaurant) จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหาร
      1. Mini Restaurant จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารว่าง อาหารจานเดียว อาหารประเภทยำ ที่ปรุงโดยไม่ใช้เตาแก๊ส ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 100 ตร.ม.
        **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 800,000 บาท
        **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 200,000 บาท
      2. Family Restaurant ขายกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารทุกประเภท ขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางเมตร พื้นที่ เพียงพอต่อการมีห้องครัวเพื่อปรุงอาหารได้อย่างสะดวก
        **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 1,000,000 บาท
        **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 200,000 บาท
  • ค่าโรยัลตี้ (Royalty Fee) และค่าช่วยส่งเสริมการตลาด (Marketing Promotion Fee)

    ค่าโรยัลตี้ คือ ค่าลิขสิทธิ์หรือค่าผลประโยชน์ตอบแทนภายใต้ชื่อ "แบล็คแคนยอน" เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายอาหารและ เครื่องดื่ม ในเครือข่ายระบบเดียวกัน

    ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คือ ค่าใช้จ่ายที่ร้านสาขาแบล็คแคนยอนชำระ เพื่อนำมาเป็นกองทุนสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการตลาด และส่งเสริมการขาย เช่น การโฆษณา ฯลฯ
    1. ค่าโรยัลตี้ คำนวณ 3% ของยอดขายหักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อ จากบริษัทฯ เช่น เมล็ดกาแฟ โดยจะคำนวณตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป เงินค่าโรยัลตี้ขั้นต่ำต่อปี คือ
      **Coffee Corner 100,000 บาท
      **Restaurant 200,000 บาท
    2. ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คำนวณ 2% ของยอดขายหักค่าวัตถุดิบ ที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ
  • ค่าสำรวจสถานที่
    จะคิดค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ในกรณีสำรวจพื้นที่ภายใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่างจังหวัดจะคิดค่าธรรมเนียม 10,000 บาท + ค่าที่พักและค่าเดินทาง หากมีการเซ็นสัญญาค่าธรรมเนียมนี้ จะถูกนำไปหักออกจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

    ในกรณีที่บริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานที่ที่มีความเหมาะสม บริษัทจะเป็นผู้เช่าดำเนินการเซ็นต์สัญญาเช่าสถานที่ และ / หรือ สัญญาอื่นใด กับศูนย์การค้าหรือเจ้าของสถานที่เช่า ในนามของ บริษัทเอง

    ในส่วนของผู้รับสิทธิ์ บริษัทจะแจ้งให้ทำสัญญาเช่า สถานที่ และ / หรือสัญญาอื่นใด กับบริษัทฯ ซึ่งผู้รับสิทธิ์จะต้องเข้าทำสัญญา และชำระค่าเช่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเช่าทั้งหมด
  • ค่าออกแบบ 
    ผู้ได้รับสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการออกแบบตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น การออกแบบจะต้องยึดถือ นโยบายของบริษัทฯ โดยเคร่งครัด โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการออกแบบจะตกประมาณ 8 - 15% ของค่าก่อสร้างและตกแต่ง
  • ค่าตกแต่งสถานที่ และค่าป้ายชื่อร้าน 
    ผู้รับสิทธิ์ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าตกแต่งร้านทั้งหมด และค่าป้ายชื่อร้านตามรูปแบบที่กำหนด ผู้รับสิทธิ์สามารถจะ ใช้บริการจาก ผู้รับเหมา ก่อสร้างที่หามาเอง หรือจากผู้รับเหมาที่บริษัทฯ แนะนำให้ก็ได้ โดยทั่วไปงบประมาณ ในการตกแต่ง สถานที่จะตกประมาณ 8 แสน - 1.5 ล้านบาท สำหรับ Coffee Corner และตกประมาณ 2 - 4 ล้านบาท สำหรับร้านอาหาร ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

  • ค่าอุปกรณ์เครื่องครัว 
    ภาชนะบรรจุเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และเครื่องแต่งกาย ผู้รับสิทธิ์จะต้องจัดซื้อตามรูปแบบ และมาตรฐานที่กำหนดโดย บริษัทฯ งบประมาณเพื่อลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 2 - 4 แสนบาท สำหรับ Coffee Corner และ 4 - 6 แสนบาท สำหรับร้านอาหาร

  • เครื่องเก็บเงิน (ระบบคอมพิวเตอร์ Point of Sales)
    ผู้รับสิทธิ์จะต้องซื้อเครื่องเก็บเงิน และซอฟท์แวร์จากบริษัทฯ เพื่อให้แคชเชียร์ใช้ในการเก็บข้อมูลออร์เดอร์จากลูกค้า คำนวณค่าอาหาร สรุปยอดขาย ฯลฯ งบประมาณลงทุน ด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ประมาณ 1 - 1.2 แสนบาท

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และค่าธรรมเนียมขออนุญาตทางราชการ
    ผู้รับสิทธิ์ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการขอจดทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ต่อ กรมทรัพย์สินทาง ปัญญา จำนวน 800 บาท ตลอดจนค่าอากร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่เกิน 2,500 บาท โดยบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการ ค่าใช้จ่ายนี้อาจมี การเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 
    จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียน เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ (อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายข้างต้น บริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ
ระยะเวลาคืนทุน-
คุณสมบัติ
ผู้ลงทุน
-
สิ่งที่แฟรนไชส์ซี่
จะได้รับ
  1. สิทธิ์ในการใช้ชื่อและรูปแบบอันเป็นเอกลัษณ์ของ "แบล็คแคนยอน" ที่มีชื่อเสียง
  2. สิทธิในการซื้อเมล็ดกาแฟแท้ "แบล็คแคนยอน" ประเภทต่าง ๆ จากทางบริษัทฯ
  3. ช่วยเหลือในการออกแบบร้าน ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งร้าน งานระบบต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบท่อ ดูดควัน ระบบแก๊ส ระบบประปา เพื่อให้ได้มาตรฐาน
  4. ช่วยเหลือในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีสัญลักษณ์ "แบล็คแคนยอน"
  5. ช่วยเหลือในการจัดหาตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
  6. ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เกี่ยวกับการปรุงอาหารและกาแฟ ภายใต้สูตร "แบล็คแคนยอน"
  7. การฝึกอบรมพนักงานทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมเอกสารประกอบการอบรม
  8. ช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขาย รวมทั้งจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ เกี่ยวกับสินค้าและ สาขาต่าง ๆ ที่เปิดดำเนินการ
  9. ประสานงานและขอติดตั้งเครื่อง Post Mix ของน้ำอัดลมและติดตั้งตู้ไอศกรีม
  10. ช่วยเหลือในการจัดหาเครื่องเก็บเงินระบบคอมพิวเตอร์ (POS) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลออร์เดอร์ลูกค้า คำนวณค่า อาหารและวิเคราะห์ยอดขาย ทั้งนี้ผู้รับสิทธิ์จะต้องซื้อซอฟท์แว์จากทางบริษัทฯ
  11. เอกสารคู่มือการบริหารร้าน และงานบุคคล คู่มือวิธีการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม สูตรและต้นทุนอาหารและ เครื่องดื่ม
  12. ภาพลักษณ์ของ "แบล็คแคนยอน" ที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วทั้งประเทศ ทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว มีโอกาส ประสบความสำเร็จสูงกว่าการสร้างธุรกิจของตนเอง
  13. สิทธิ์ในการทำธุรกิจของตนเอง เป็นนายของตนเอง มีความภาคภูมิใจ และมีพันธมิตรทางธุรกิจที่จะคอยให้ความ ช่วยเหลือเมื่อต้องการ 
อื่นๆ
หมายเหต : ผู้รับสิทธิ์ที่ทำทุจริตโดยนำกาแฟชนิดอื่นที่มิใช่ของ "แบล็คแคนยอน" มาขายและให้บริการลูกค้า โดยทำให้ผู้บริโภคหลงผิด คิดว่าเป็นกาแฟ "แบล็คแคนยอน" จะถูกดำเนินคดี ทั้งทางแพ่งและทางอาญาอย่างเคร่งครัด 


ชื่อผู้ติดต่อบริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
ที่อยู่2991/8 ถนนลาดพร้าว ซอย 101/3 บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทร.02-376-0014-8
โทรสาร02-376-0019
อีเมล์-
เว็บไซต์blackcanyoncoffee.com

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:สัญญากับแฟรนไชส์

         อ่านแล้วรวย ช่วงนี้ค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ  "สัญญาแฟรนไชส์" มาให้นำมาเป็นส่วนประกอบในการเลือกแฟรนไชส์

                    ระบบแฟรนไชส์ คือ ระบบซึ่ง  บุคคลหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ขายแฟรนไชส์  อนุญาตให้  บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์  ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้ขายแฟรนไชส์ กับสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านระบบบัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนินกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการด้วย

จากที่กล่าวมา การซื้อขายแฟรนไชส์จึงเป็นการซื้อขายระบบ มิใช่เป็นเพียงการซื้อขายป้ายสำหรับไปติดที่หน้าร้าน หรือที่ตัวสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ก็ยังได้กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน ต้องนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปจ! ดทะเบียนกับนายทะเบียน โดยในคำขอจดทะเบียนต้องระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้ากับผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริงด้วย

2. ทำไมถึงต้องทำแฟรนไชส์

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ Franchise Tips

Franchise Tips : กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนชส์ ธุรกิจ)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชซอร์ (บริษัทแม่) และแฟรนไชซี (สาขา) ได้เข้าใจถึงการทำธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานและป้องกันความผิดพลาด ดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ในความหมายของธุรกิจแฟรนไชส์หมายถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซีจะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้า หรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

โดยแฟรนไชซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เช่นการให้ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า ดังนั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะต้องดูว่าจะได้รับเสนอบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป

2.เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์เป็นรายเดือน โดยคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน โดยแฟรนไชซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขายให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กฏข้อห้ามในการเลือซื้อแฟรนไชส์

   อ่านแล้วรวย วันนี้ที่จะเล่าเป็นเรื่องเนื้อๆเน้นๆครับ  เพราะคนที่เลือกลงทุนแฟรนไชส์เกือบ 90%เป็นการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ครั้งแรก  ดังนั้นต้องบอกต้องเตือนก่อนตัดสินใจซื้อ  มีอะไรบ้างหรือครับ
กฎต้องห้ามในการเลือกซื้อแฟรนไชส์
            มีเหตุเกิดขึ้นในหลายกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์มักถูกหลองลวงจากผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ โดยที่เบื้องหลังไม่ได้มีธุรกิจอะไรเลย หรือในบางกรณีคือ เมื่อซื้อแฟรนไชส์แล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทตามมาในภายหลังได้ ดังนั้นข้อแนะนำเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์กับท่านได้

ต้องยอมรับว่าต้นเหตุของความผิดพลาดประการหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองที่ขาดความระมัดระวังหรือไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอันที่จริงการที่จะตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากลองพิจารณาตามเกณฑ์นี้

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยไม่ได้เยี่ยมชมบริษัท
มีหลายคนที่ตกลงปลงใจซื้อแฟรนไชส์จากกระดาษ 2-3 ใบ หรือจากคำพูดชวนเชื่อ ทั้งๆ ที่การลงทุนนั้นเป็นหลักหมื่นหลักแสนขึ้นไป โดยไม่เคยย่างกรายเข้าไปเยี่ยมชมบริษัทนั้น นี่คือความผิดพลาดที่ไม่อาจจะโทษใครได้ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อจะต้องเข้าไปที่บริษัทนั้นเพื่อดูด้วยตาของตัวเองว่า เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงหรือไม่ เปิดมานานเท่าไรแล้ว มีพนักงานกี่คน แต่ละคนทำอะไรบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อให้มั่นใจในระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีตัวตนอยู่จริง

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่เห็นร้านค้า
ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ได้ย่อมต้องมีธุรกิจที่เปิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีบริษัทอยู่จริงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จนกว่าผู้ซื้อจะได้เข้าไปดูร้านที่เปิดดำเนินการขึ้นมาแล้วว่ามีคนมาใช้บริการหรือไม่ มากน้อยเพียงใด บริษัทมีร้านของตัวเองอยู่ที่ไหนบ้าง และมีร้านของแฟรนไชส์อยู่ที่ไหนบ้าง ยิ่งหากมีโอกาสไปเยี่ยมชมมากเท่าไร ผู้ซื้อก็จะยิ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากเท่านั้น

อย่าลืมพูดคุย
ในการไปเยี่ยมชมกิจการแต่ละครั้ง อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรสอบถามเจ้าของร้านหรือพนักงานที่ร้าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องลูกค้า รายได้ ยอดขาย ว่าสม่ำเสมอทุกเดือนหรือไม่ เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด

ไปหลายๆ แห่ง
ถ้าจะให้ดีผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรที่จะไปเยี่ยมร้านค้าหลายๆ แห่ง เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดในข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ตั้ง หรือการบริหารงานในร้านสาขานั้นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรที่จะไปเยี่ยมหลายๆ สาขาเท่าที่จะสามารถให้ข้อสรุปแก่ตัวเองได้ เพื่อเป็นการประมวลและเปรียบเทียบข้อมูลว่ากิจการแฟรนไชส์นั้นน่าลงทุนหรือไม่

อย่าชื้อแฟรนไชส์ที่อายุน้อย
ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจที่เพิ่งเปิดดำเนินการหรือมีอายุเพียงแค่ 1-2 ปี นั่นหมายความว่าธุรกิจนั้นย่อมขาดประสบการณ์ที่เพียงพอ และไม่มีทางที่จะให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงควรตัดตัวเลือกนี้ทิ้งไปเป็นอันดับแรกสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดขึ้นมาแค่ไม่กี่ปี เพราะนอกจากจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสำเร็จของตัวเองได้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับนักลงทุน

อย่าซื้อกิจการที่ยังไม่ได้กำไร
ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะล่วงรู้ถึงตัวเลขและผลกำไรในธุรกิจนั้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือต้องเกรงใจที่จะยิงคำถามตรงๆ กับเจ้าของแฟรนไชส์ โดยคำตอบที่ได้อาจเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ แต่อย่างน้อยก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจนั้นๆ น่าลงทุนแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม ข้อที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดที่ต้องพิจารณาให้มากที่สุดคือ ตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองมีความตั้งใจและพร้อมที่จะต่อสู้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนมากยังเข้าใจผิดอยู่ก็คือ คิดว่าเมื่อกำเงินมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์แล้วจะต้องได้กำไรกลับคืนมาแน่นอน และคาดหวังว่าบริษัทแม่จะเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างให้เสร็จสรรพ แต่ในความเป็นจริงก็คือ ความสำเร็จของธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผู้ประกอบการเองที่มีความเอาใจใส่และรอบรู้ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์จะมาจากตัวผู้ลงทุนเอง ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์คือความช่วยเหลือในการก่อตั้งของบริษัทแม่

รวยด้วยแฟรนไชส์:ทำแฟรนไชส์อย่างไรจึงได้ผล

ทำแฟรนไชส์อย่างไร
.:: ทำแฟรนไชส์อย่างไร จึงจะได้ผลจริง ? ::.
โรงอาหารที่นครนิวยอร์คซิตี้ แห่งหนึ่งได้ทำธุรกิจมา 60 ปีแล้ว และเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจฟาส์ตฟู้ด ตำนานของโรงอาหารแห่งนี้ มีบางเวลาดี และบางทีก็แย่ แต่เมื่อธุรกิจนี้ปรับตัวจากโรงอาหารที่กำลังตกต่ำ มาเป็นเบอเกอร์คิงส์ ไม่นานนัก สาขาแห่งนั้นก็บริการลูกค้าได้ 5,000 กว่า คนในเวลา 1 วัน และในปัจจุบันก็ขยาย บริการไปสู่ลูกค้าทั้งโลกด้วยระบบแฟรนไชส์
อำนาจของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่มากมายเช่นนี้ ทำให้หลายคนตาลุก อยากจะนำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์บ้าง แต่ความสำเร็จของแฟรนไชส์ ไม่ใช่อยู่แค่เพียงชื่อ หรือแค่ความอร่อยของอาหาร จุดที่ทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว โครงสร้างของธุรกิจ การจัดการองค์กรระบบธุรกิจ การอบรมและระดับการให้การสนับสนุนของบริษัทแม่
ถ้าคุณเป็นผู้ที่ต้องการความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ คุณต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนว่า แก่นแท้ของแฟรนไชส์คืออะไร มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะประสบความสำเร็จในระบบนี้ โดยที่คุณมีความรู้แบบ งู ๆ ปลา ๆ
แฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เดียวกัน กลยุทธ์ของการเติบโต ธุรกิจจะต้องบริหารจัดการภายใต้กติกาเดียวกัน
หลาย ๆ คน เมื่อประสบความสำเร็จในสาขา 2-3 และเริ่มขายแฟรนไชส์ในสาขาแรก ก็รู้สึกภาคภูมิใจหนักหนา เมื่อถูกถามถึงว่าแฟรนไชส์ ของคุณมีอะไรก็ตอบคล้ายกันว่า เหมือนกับ 7-อีเลฟเว่น แมคโดนัลด์ หรืออะไรก็ตามที่อธิบายในเรื่องของสินค้าที่ขาย ไม่มีรายละเอียดของการทำระบบที่เป็นไปได้ ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ แต่อีกไม่นานในรายที่ตอบคำถามอย่างนั้น ก็จะตกต่ำแล้วเปลี่ยนระบบธุรกิจ กลายมาเป็น สาขาของตัวเอง และพวกเขาก็เพิ่งจะตระหนักว่า คำตอบที่แท้จริงของระบบแฟรนไชส์ก็คือ...
- การทำจะต้องทำระบบธุรกิจตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
- และแม้ว่าคุณอาจจะเยี่ยมยอดในการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะประสบความสำเร็จได้ในการทำแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ เป็นวิธีการกระจายสินค้าที่ต่างจากที่คนส่วนมากใช้
- และเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบของตัวมันเอง ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 

วันอังคาร

รวยด้วยแฟรนไชส์การศึกษา : คูมอง Kumon

                    คูมอง            
                    อ่านแล้วรวย   ใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด  สำหรับแฟรนไชส์ทางการศึกษาที่เห็นมากคุ้นหูคุ้นตาใน 2-3 ปีที่ผ่านมา  ก็คือ คูมอง นี่แหละ  จึงหยิบยกมาเป็นแฟรนไชส์แรกในหมวดนี้ให้ได้ศึกษาดูกัน  มันมี 2 เรื่อง คือทำไมถึงนิยมกันเยอะ  ส่วนหนึ่งผมเข้าใจว่าเป็นเพราะค่าลงทุนไม่มากเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นที่ดังพอๆกัน  ราคาถูกกว่าที่อื่นเกือบ 70%เชียว จึงทำให้มีผู้เป็นแฟรนไชส์ซีกันเยอะ  พอเยอะก็น่าจะทำให้มีโอกาสดังได้(แต่ของเขาคงดีด้วยแหละ  เพราะไอ้ที่ถูกๆแต่ไม่ดังนั้นมีเยอะมาก)  ดังนั้นสิ่งแรกก็น่าจะเป็น ถูกและดี  ส่วนข้อที่สองน่าจะเป็นทีมการตลาดที่แข็งแกร่ง  เพราะเวลาอ่านแล้วรวย มากรุงเทพ  สนามบินภายในประเทศนั้น  ตราสัญลักษณ์คูมองเตะตา  คนทุกจังหวัดเชื่อถือกับการได้เห็นตรงนี้มากครับ  จึงกระตุ้นให้นำลูกหลานไปเรียนได้พอสมควร  และถ้าขับรถตามต่างจังหวัดเปิดวิทยุในรถฟัง  ก็จะมีสปอร์ตโฆษณาของคูมองหลายจังหวัด  อันนี้ถ้าดูรายละเอียดด้านล่างที่ต้องเสียค่าส่วนแบ่งเป็น % ค่อนข้างสูงก็อาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้   เอาละครับพูดพล่ามมายาว  ดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า



              ระบบคุมอง คือระบบการเรียนที่มีเป้าหมาย อยู่ที่การ สร้างกำลัง ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก ๆ มีความพร้อมและกำลังเพียงพอที่จะเรียน ในระบบการสอนแบบในโรงเรียนได้อย่าง มั่นใจและ มีความสุข โดยการสร้างรากฐานทางคณิตศาสตร์และ ภาษาอังกฤษให้แข็งแรงให้แก่เด็ก ทุกระดับชั้นด้วยการเรียน เฉพาะตัว ตามศักยภาพ ของ แต่ละคนโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างความเชี่ยวชาญในเนื้อหาระดับ มัธยมปลายด้วยการ เรียนรู้ ด้วยตนเอง


ค่าแฟรนไชส์เท่าไหร่ครับ
50,000 บาท
มีกี่สาขาแล้วครับในเมืองไทย
430 สาขา


ประมาณ 100,000 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็นค่า
  • License Fee 24,610 บาท
  • Bank Guarantee 50,000 บาท
  • ส่วนที่เหลือเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ เช่น โต๊ะเรียน เก้าอี้ ตู้ใส่แบบฝึกหัด
    (ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวามค่าตกแต่งและค่าเช่าสถานที่)
ค่าใช้จ่ายของใบอนุญาตแต่ละประเภท
  1. ใบอนุญาต Provisional License  
    • License Fee 24,610 บาท 
    • ค่า Royalty Fee 45% 
  2.  ใบอนุญาต Authorized License  
    • License Fee 16,050 บาท 
    • ค่า Royalty Fee 40%

  • License fee ชำระครั้งเดียวในแต่ละประเภท โดยคิดเป็นรายวิชาที่เปิดสอน
  • Royalty fee ชำระทุกเดือน โดยคิดเป็น % ของค่าเล่าเรียนที่เก็บจากนักเรียน
  • Franchise agreement จะมีอายุ 2 ปี ทั้ง ประเภท provisional license และ authorized license ซึ่งจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติไปอีก 2 ปี ถ้า instructor สามารถสอน และบริหารศูนย์ของตนได้ตามมาตรฐาน และคำแนะนำของบริษัท

  • สุภาพสตรี อายุ 30 - 45 ปี
  • วุฒิการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี
  • มีพื้นฐานความรู้ทางวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
  • สามารถสอนและบริหารศูนย์ได้เต็มเวลาด้วยตนเอง
  • มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง 

ขั้นตอนการเตรียมการเปิดสอน
  • การเข้ารับฟัง สัมมนาผู้สนใจเปิดศูนย์ และ ทดสอบความสามารถ ทางคณิตศาสตร์การสัมภาษณ์รายบุคคลครั้งที่ 1
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 1 (NIT1)
  • การสัมภาษณ์รายบุคคล ครั้งที่ 2
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 2 (NIT2)
  • การตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 3 (NIT3)
  • การสัมภาษณ์รายบุคคลครั้งที่ 3 โดยกรรมการผู้จัดการ
  • การชำระค่าใบอนุญาตเปิดศูนย์
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 4 (NIT4)
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 5 (NIT5)
  • การฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 1
  • การฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 2 
หมายเหตุ : ขั้นตอนทั้งหมดในการเตรียมการเปิดศูนย์ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน 

สถานที่ที่เหมาะสมจะเปิดศูนย์
  • การเปิดศูนย์ Kumon ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขอบเขตพื้นที่ ของระยะห่างจากศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้ Instructor ของ Kumon จะต้องมีเป้าหมายร่วมกันที่มุ่งให้นักเรียนและผู้ปกครองจำนวนมากที่สุด ได้รับประโยชน์จากการเรียนแบบ Kumon เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ
  • ขนาดสถานที่ 100 ตารางเมตร ขึ้นไป โดยประกอบด้วยห้องพักรอผู้ปกครองห้องประชุมและห้องเรียน
  • ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน นักเรียนสามารถเดินทางมาที่ศูนย์ได้อย่างสะดวก
  • ตั้งอยู่ในสถานที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นสถานที่เรียน
  • มีที่จอดรถเพียงพอ
  • สถานที่มีความปลอดภัย อากาศถ่ายเทสะดวก มีห้องน้ำอำนวยความสะดวก ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง และมีแสงสว่างเพียงพอ
    ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นสถานที่ของผู้เปิดศูนย์เอง หรือเป็นสถานที่เช่า เป็นอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ในห้างสรรพสินค้า หรือเป็นบ้านพักอาศัย
  • สถานที่เปิดศูนย์ Kumon จะต้องได้รับการตรวจสอบ และอนุญาตจากบริษัทฯ ก่อนที่จะทำการเปิดศูนย์ Kumon 

การตกแต่งศูนย์
  • ภายในศูนย์คุมองจะต้องประกอบไปด้วย ห้องพักรอผู้ปกครอง ห้องประชุม และห้องเรียน โดยมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่มีรูปแบบเดียวกันเพื่อแสดงถึงมาตรฐานของภาพลักษณ์ของศูนย์คุมอง ได้แก่
    • ป้ายแสดง logo ของบริษัท และชื่อศูนย์รูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนรูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะและเก้าอี้สำหรับ instructor รูปแบบของคุมอง
    • ตู้เก็บแบบฝึกหัดรูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะสำหรับอุปกรณ์เสริมที่ใช้ประกอบการเรียน
  • ส่วนการตกแต่งอื่นๆ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เปิดศูนย์และคำแนะนำของบริษัท ทั้งนี้จะต้องเป็นไปในลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ศึกษา
 ประเภทของ License
  1. Provisional License 
    Instructor ทุกท่านได้รับใบอนุญาตประเภท Provisional License เมื่อผ่านขั้นตอนการคัดเลือกและฝึกอบรมจนกระทั่งได้เปิดศูนย์
     
  2. Authorized Licenseเมื่อเปิดศูนย์ครบ 1 ปี Instructor สามารถสมัคร เพื่อขอรับใบอนุญาตประเภท Authorized License จากบริษัทได้ โดยบริษัทเป็นผู้พิจารณาเกณฑ์ต่างๆ เช่น คุณภาพในการสอน และการบริหารศูนย์ การเข้าร่วมการสัมมนาที่บริษัทจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ความร่วมมือกับบริษัทในการจัดกิจกรรมต่างๆ และมีอัตราการเรียน ที่ต่อเนื่องของนักเรียน 80 % ขึ้นไป เป็นต้น  


ระบบการเรียนแบบคุมอง ถูกคิดค้นขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1954 โดย โทรุ คุมอง ซึ่งในขณะนั้นเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

 สถาบันสอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่จะเน้นการติวหรือการสอนเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือสอบ เข้าเรียนตามสถาบันต่าง ๆ แต่คุมองไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเป็นเช่นนั้น 

โทรุ คุมอง ต้องการช่วยบุตรชาย ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และมีปัญหากับ การเรียนคณิตศาสตร์ เขาจึงได้คิดออกแบบแบบฝึกหัดขึ้นมาเป็นพิเศษ และให้บุตรชายทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้รับคือบุตรชายของเขา สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ เช่น สมการอินติเกรต สมการอนุพันธ์ และแคลคูคัส ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับมัธยมปลายได้อย่างคล่องแคล่ว ในขณะที่เขาเรียนอยู่เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น

ชื่อเสียงของ ระบบการเรียนแบบคุมองได้รับการกล่าวถึง และแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่นและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสถาบันการศึกษาที่มีเครือข่ายมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แพร่หลายไปในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ รวม 45 ประเทศทั่วโลก 

ในปัจจุบันมีศูนย์อยู่ทั้งหมดกว่า 28,000 แห่งทั่วโลก มีนักเรียนที่กำลังเรียนมากกว่า 4 ล้านคน เป็นระบบการเรียนรู้ ที่ได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด และกำลังมาเป็นรูปแบบของการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21

ระบบคุมองเป็นการสอนให้เด็กฝึกคิดด้วยตนเองจากการทำแบบฝึกหัดในเนื้อหาที่เหมาะสมกับความสามารถของเขาทุกวัน เพียงวันละ 15 - 20 นาที ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากการเรียนคุมอง คือ ความมั่นใจของพวกเขาใน การเรียนคณิตศาสตร์และภาษา ในโรงเรียนได้อย่างสบาย นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ ในการดำเนินชีวิตได้อย่างประสบ ความสำเร็จในอนาคต




บริษัท คุมอง (ไทยแลนด์) จำกัด
อาคารไซเบอร์เวิร์ล ตึก A ชั้น 15-16 เลขที่ 90 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
02-626-6555
02-626-6599

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์ : แฟรนไชส์ไหนรุ่ง แฟรนไชส์ไหนเสี่ยง ปี 54 Franchise trend in Thailand 2011

                   อ่านแล้วรวยไปอ่านมาครับ  แต่มันอาจจะยาวไป  เลยสรุปแบบฟันธงและคอนเฟิร์มเพื่อให้ว่าที่เถ้าแก่ตัดสินใจเลือกลงทุนในปีนี้   เอาหละครับก่อนจะเริ่มลองศึกษาหาความรู้ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เนื่องจากการทำธุรกิจต้องใช้เวลาลงไปคลุกคลีไม่น้อย ซึ่งถ้าธุรกิจไม่สามารถก้าวไปได้จะทำให้เสียทั้งเงินและเวลา


                  แนวโน้มต่างกันนะครับระหว่างปี 53 กับ 54 ลองดูซิครับ      
       ผลสำรวจความนิยมลงทุนแฟรนไชส์
      
       อันดับหนึ่งคือ ธุรกิจเบเกอรี่ โดยปัจจัยแรกคือ สิ่งแวดล้อมทางการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้น ซึ่งที่เห็นกันอยู่คือเบเกอรี่จากต่างประเทศที่เข้ามาสร้างกระแสให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้น อย่าง คริสปี้ครีม ซึ่งส่งผลให้ตลาดในหัวเมืองใหญ่หันมาสนใจธุรกิจโดนัทมากขึ้น ปัจจัยที่สองคือ เงินลงทุนไม่สูง เฉลี่ย 2-3 ล้านบาทเท่านั้น ปัจจัยที่สามคือการคืนทุนที่ค่อนข้างรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าเท่านั้น ประกอบกับรูปแบบร้านที่ดูดีเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์เชิงสังคมให้กับผู้ลงทุน
      
       อันดับสองคือ ธุรกิจเครื่องดื่ม ซึ่งกาแฟยังเป็นตัวนำ โดยจากแบบสอบถามพบว่าคนอายุไม่เกิน 40 ปี ประมาณ 27% มีความสนใจมาก แต่กระแสในระยะนี้แผ่วลงไปบ้างทำให้ตกอันดับจากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่หนึ่ง เพราะนักลงทุนให้ความเห็นว่ามีร้านกาแฟที่เปิดอยู่เป็นจำนวนมากแล้วในตลาดมีการแข่งขันสูง ทำให้อัตราผลกำไรที่เคยสูงกลับลดต่ำลง นอกจากนี้ ยังหาความแตกต่างของแต่ละรายไม่ได้ทำให้ไม่รู้ว่าจะเลือกแบบไหนดี รวมทั้ง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบที่ดีคือเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิก้ามีราคาสูงขึ้น
      
       อันดับสามคือ ธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว ซึ่งนักลงทุนมีความต้องการชัดมาก แต่เนื่องจากยังไม่มีรูปแบบร้านที่ดีกว่าร้านรถเข็นหรือเหมาะสมกับความต้องการของนักลงทุน เพราะจากข้อมูลการสำรวจพบว่า 90% ของนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากเดิมที่นักลงทุนกว่า 30% มีความรู้ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ดังนั้น เมื่อนักลงทุนมีการศึกษาสูงจึงต้องการลงทุนให้คุ้มกับเงินลงทุน เวลา และสถานะ นอกจากนี้ ยังพบว่า 26% ของผู้สนใจลงทุนเคยทำธุรกิจมาก่อน และ47% เป็นพนักงาน ชี้ให้เห็นว่าคุณภาพของนักลงทุนสูงขึ้น แฟรนไชส์ขนาดเล็กจึงไม่ค่อยได้รับความนิยม
       

                 ธุรกิจเด่น  คือ ธุรกิจไอศกรีม และธุรกิจอาหารไทย สำหรับธุรกิจไอศกรีมซึ่งนำโดย “สเวนเซ่นส์” มีผู้สนใจลงทุนมาก จึงส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจไอศกรีม แต่เพราะการลงทุนกับสเวนเซ่นส์ใช้เงินลงทุนสูง ขณะที่ “ไอเบอรี่” ซึ่งเป็นของคนไทยก็ลดการกระตุ้นในเรื่องของแฟรนไชส์ รวมทั้ง รายอื่นๆ ที่เคยผลักดันอย่างแรงก็ลดลงเช่นกัน เช่น ดรีมโคน เป็นต้น เนื่องจากโดยภาพรวมของธุรกิจนี้มีการแข่งขันรุนแรง ส่วนการที่ธุรกิจอาหารไทยได้รับความสนใจเป็นเพราะรายที่เปิดอยู่มีการเติบโตดี เช่น เชสเตอร์กริลล์ สามารถขยายแฟรนไชส์ได้เป็นร้อยสาขา ขณะที่ นักลงทุนเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะผู้บริโภคตัดสินใจซื้อง่าย

                 ธุรกิจที่ได้รับความนิยมลดลง
                 1.ธุรกิจการศึกษา จากเดิมที่ได้รับความนิยมในอันดับต้นๆ คือประมาณอันดับหนึ่งหรือสอง เหตุผลแรก เป็นเพราะนักลงทุนเห็นว่าบางแห่งลงทุนสูงบางแห่งลงทุนไม่สูง ไม่สามารถหาเหตุผลในการลงทุนได้ และผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คิด รวมทั้ง มีปัญหาให้เห็นเป็นระยะ เช่น มีการปิดตัวของผู้ประกอบการ เป็นต้น เหตุผลที่สอง มาจากความยากในการทำธุรกิจ เช่น ไม่สามารถหาบุคลากรมาดำเนินการ และเหตุผลที่สาม มาจากการที่สภาพตลาดเปลี่ยนไป เนื่องจากระบบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการสอบเอ็นทรานซ์มีความสับสน ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคต่างจากเดิมเด็กนักเรียนเปลี่ยนไปเน้นเรียนเฉพาะวิชา ไม่เรียนหลายๆ วิชา
      
                 2.ธุรกิจแฟชั่น เช่น ร้านเสื้อผ้า ร้านเครื่องประดับ และร้านเครื่องสำอาง สำหรับธุรกิจร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง ได้รับความนิยมลดลงจากเดิมที่เคยอยู่ในอันดับที่สาม เพราะนักลงทุนเห็นว่าไม่สามารถแยกความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ระหว่างสินค้าทั่วไปที่ผลิตในประเทศกับสินค้าที่มีแบรนด์ และมีการหิ้วของจากต่างประเทศเข้ามาขายมาก รวมทั้ง ผู้บริโภคในปัจจุบันไม่มีความภักดีต่อแบรนด์ ทำให้ร้านที่เปิดเป็นแฟรนไชส์แข่งขันไม่ได้ ขณะที่ ธุรกิจร้านเสื้อผ้า ได้รับความนิยมลดลงเพราะสภาพเศรษฐกิจส่งผลให้ผู้บริโภคใช้จ่ายกับเสื้อผ้าน้อยลงเช่นเดียวกับเครื่องประดับ ส่วนธุรกิจบริการอื่นๆ มีรูปแบบของธุรกิจ (concept) ไม่แข็งแรง เช่น ร้านซักรีด เป็นต้น
      


                “ร้านอาหาร” มาแรง
      
       ส่วนผลสำรวจสถานการณ์แฟรนไชส์ในปี 2553และแนวโน้มในปี 2554พบว่า อัตราการเติบโตของธุรกิจในปี 2553จะอยู่ที่ 11.7% โดยมีมูลค่าตลาดรวมของธุรกิจกว่า 1.6 แสนล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์ 563 ราย และจากการคาดการณ์ในปี 2554 ธุรกิจแฟรนไชส์น่าจะมีอัตราการเติบโต 15% หรือมีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 1.7แสนล้านบาท มีธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มเป็นประมาณ 600-650 ราย เพราะมีทั้งแฟรนไชส์รายใหม่และรายเก่าที่พัฒนาตัวเอง ซึ่งการเติบโตของธุรกิจจะเน้นไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมีความโดดเด่นอยู่ที่ “ธุรกิจอาหาร” เป็นหลัก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจเอื้ออำนวยทำให้มีอัตราผลกำไรสูงขึ้นและมีรายที่ปรับตัวไปอยู่ในระดับที่สูงขึ้น เช่น แฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่น
       
              "บริหาร" มีความหลากหลาย
       นอกจากนี้ “ธุรกิจบริการ” จะมีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น เช่น แฟรนไชส์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ซ่อมบ้าน ซ่อมรถ คาร์แคร์ กำจัดแมลง ร้านซักรีด ร้านหยอดเหรียญ และคอนวีเนี่ยนสโตร์ เนื่องจากการมีความพร้อมในการออกแบบรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์และสถานการณ์โดยรวมที่เหมาะสม ประกอบกับ ที่ผ่านมาความสำเร็จจากผู้นำเป็นตัวจุดประกายและตัวกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว เช่น พีดีเฮ้าส์แฟรนไชส์ธุรกิจรับสร้างบ้าน ที่สามารถขยายได้กว่า 10 สาขา โดยใช้เงินลงทุนในธุรกิจสาขาละ 3-4 ล้านบาทหรือโมลิแคร์แฟรนไชส์ธุรกิจคาร์แคร์ พรู้ฟโค้ทแฟรนไชส์ธุรกิจรับซ่อมบ้าน
      
       ขณะที่ แฟรนไชส์ธุรกิจซักรีดรายเด่นๆ จะกลับมาใหม่ แฟรนไชส์ธุรกิจตู้หยอดเหรียญจะเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากธุรกิจขายเครื่องกรองน้ำจะเกิดเป็นธุรกิจบริการจัดส่งน้ำดื่ม เป็นต้น รวมทั้ง ธุรกิจเอ็นเตอร์เทนจะได้รับการตอบรับ และธุรกิจเสื้อผ้าระดับราคากลางๆ จะมีแนวโน้มดีขึ้น

  สำหรับธุรกิจที่อาจจะมีความยากลำบากในปี 2554 คือธุรกิจประเภทบริการความงาม เช่น สปา ศูนย์ลดความอ้วน ร้านตัดผม คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวต่ำ เพราะตลาดอิ่มตัวจากการที่ได้มีการลงทุนไปมากแล้วก่อนหน้านี้ และนักลงทุนบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการดำเนินธุรกิจนี้จะหันไปสนใจธุรกิจอื่น โดยเฉพาะธุรกิจอาหารซึ่งเป็นธุรกิจพื้นฐาน
      
       ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สำคัญยังมาจากการผลักดันของธนาคารต่างๆ ที่นำร่องโดยธนาคารกสิกรไทยซึ่งตั้งวงเงินสินเชื่อถึง 3,000 ล้านบาทเพื่อให้สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ตั้งแต่ 1-12 ล้านบาทโดยไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน นับเป็นแคมเปญที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้อย่างดี นอกจากนี้ธนาคารอื่นๆ กำลังเตรียมสินเชื่อให้กับธุรกิจแฟรนไชส์เช่นเดียวกัน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน เป็นต้น รวมทั้ง การจัดทำไมโครไฟแนนซ์ของไปรษณีย์ไทยจะช่วยให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กหรือไมโครแฟรนไชส์เติบโตตามไปด้วย
      
              
      
       

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:4 เรื่องแฟรนไชส์ซี่ที่ดีต้องทำ

                   อ่านแล้วรวย  หลังจากแนะนำ แฟรนไชส์น่าสนใจไปหลายร้าน  วันนี้มาทบทวนหลักคิดเพื่อให้ท่านทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ไปรอดและร่ำรวย  เรื่องสำคัญ 4 เรื่องที่แฟรนไชส์ซีต้องทำเพื่อให้ธุรกิจไปได้และขายดี  ต้องทำ 4 เรื่องนี้ครับ 
                การเป็นเจ้าของธุรกิจมันยากนัก เมื่อสมใจแล้ว แน่ใจหรือว่าจะสบายใจเฉิบ ยิ่งตกที่นั่งแฟรนไชซีด้วยแล้ว มีเงื่อนไขใดที่ต้องรู้บ้าง อยากจะบอกเหลือเกินว่ารู้แล้วจะหนาว...
     
       รักษาสัญญา
     
       การใช้สิทธิที่ให้มาตามสัญญาแฟรนไชส์ ควรเขียนให้ชัดเจนว่า อนุญาตให้แฟรนไชซีใช้ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์เท่านั้น จะเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแฟรนไชซอร์ไม่ได้ ถ้ามีใครแอบมาใช้ เช่น เอาเครื่องหมายการค้าของแฟรนไชซอร์ไปใช้ ในสัญญามักจะกำหนดให้แฟรนไชซีต้องรีบแจ้งให้แฟรนไชซอร์รู้เรื่องทันที
     
       เก็บความลับ
     
       ระบบข้อมูลต่างๆ ของแฟรนไชซอร์กว่าจะพัฒนาจนใช้ได้และอยู่เหนือคู่แข่ง การรักษาความลับจึงเป็นเรื่องสำคัญ
     
       แต่ความลับในไม่มีโลก ยิ่งคนรู้จักมากเท่าใด โอกาสที่ความลับจะรั่วไหลก็มีมากเท่านั้น
     
       แม้ตอนนี้จะมี พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 ก็ตาม แต่แฟรนไชซอร์ต้องช่วยร่างเส้นว่าจะถ่ายทอดข้อมูลได้แค่ไหน กับพนักงานระดับใด ข้อกำหนดนี้ เรียกว่า Confidentiality Clause
      

วันอาทิตย์

Read-for-Rich with Franchise: รวยด้วยแฟรนไชส์ : เดอะพิซซา คอมปานี

Read-for-Rich with Franchise: รวยด้วยแฟรนไชส์ : เดอะพิซซา คอมปานี:

รวยด้วยแฟรนไชส์ : เดอะพิซซา คอมปานี


อ่านแล้วรวย แนะนำ แฟรนไชส์ธุรกิจอาหารอีกตัวที่ ดี เด่น ดัง

เขาบอกว่ายังไงบ้าง
ความสำเร็จเกิดขึ้นจากประสบการณ์และความทุ่มเทมาตลอด 30 ปี ในการบริการด้านอาหารและความเอาใจใส่ต่อลูกค้า จนถึงวันนี้ เรามีลูกค้ามาใช้บริการรวมกว่า 120 ล้านครั้ง

เอาคำถามแรกตรงประเด็นเลย ราคาเท่าไหร่
เก้าล้านบาท

ค่าใช้จ่ายมีแค่นี้หรือ

รูปแบบและงบประมาณการลงทุน เดอะ พิซซ่า คอมปะนี
  • งบการลงทุนในการเปิดร้านขนาด 240 ตรม. หรือในอาคารพาณิชย์ 2 ห้อง จะใช้งบลงทุนประมาณ 11 – 12 ล้านบาท
  • ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องจ่ายค่าการตลาด 5% ของยอดขายทุกเดือน และอีก 5% ของยอดขายสำหรับค่ารอยัลตี้ฟี
เก้า บวก สิบเอ็ด นี่มันยี่สิบพอดิบพอดี

(แต่เขาบอกว่าการลงทุนในการฝึกอบรมพนักงานอย่างจริงจัง จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาหลายเท่า)

ระยะคืนทุนนานเท่าไหร่ละ
ไม่ได้บอกไว้

มีกี่สาขาแล้วละตอนนี้
188 สาขา โดยแบ่งสัดส่วนเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ราว 70% และบริษัทเป็นผู้ลงทุนเอง 30%
ความเป็นมาเขาเป็นยังไง
ความสำเร็จเกิดขึ้นจากประสบการณ์และความทุ่มเทมาตลอด 30 ปี
ในการบริการด้านอาหารและความเอาใจใส่ต่อลูกค้า จนถึงวันนี้ เรามีลูกค้ามาใช้บริการรวมกว่า 120 ล้านครั้ง “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ที่พร้อมให้บริการกว่า 700 สาขา ทั่วประเทศ
ในปี พ.ศ. 2544 เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ได้แนะนำ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” ที่ให้บริการพิซซ่า และพาสต้าสไตล์อิตาเลียน และด้วยรสชาติที่ถูกปาก และพิซซ่าที่หนักเครื่องทำให้ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” เป็นแบรนด์พิซซ่ายอดนิยมที่สุดในประเทศไทย
เดอะ พิซซ่า คอมปะนี สามารถให้การสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ให้คำแนะนำในการเลือกทำเลที่ตั้งการออกแบบร้าน และการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การฝึกอบรมพนักงาน ไปจนถึงแผนการตลาดและส่งเสริมการขาย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณมีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง

เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ความอร่อยและความหลากหลายในด้านอาหาร เพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าอย่างเต็มที่ 100%
ความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาร้านในตลาดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา

นำเสนอแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารภายในร้าน การส่งอาหารตรงถึงบ้าน ซึ่งเราเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ส่งฟรี รับประกันภายใน 30 นาที
รูปแบบเขาเป็นแบบไหน
แฟรนไชส์รายใหญ่ของประเทศ บริหารงานโดย เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ที่มีประสบการณ์ และประสบความสำเร็จมากกว่า 30 ปี ในการบริการด้านอาหาร และความเอาใจใส่ต่อลูกค้า
ว่ายังไงต่อ
เดอะ พิซซ่า คอมพานี มีแฟรนไชส์หลายแบรนด์ เช่น สเวนเซ่นต์ ซิซซ์เลอร์ แดรี่ควีน เบอร์เกอร์ คิง ที่พร้อมให้บริการกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ

ซื้อแล้วให้อะไรเรามั่งละ
ด้วยการสนับสนุนของแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วประเทศ และพนักงานด้านการตลาดผู้เปี่ยมประสบการณ์ของเรา ร้านใหม่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ทุกรายจะได้รับความสนใจจากลูกค้าในย่านนั้นทันที
การตลาด เดอะ พิซซ่า คอมปะนี
  • รับผิดชอบงานด้านโฆษณาและการส่งเสริมการขาย รวมทั้งการผลิตสื่อโฆษณา ณ จุดขาย เช่น โปสเตอร์ ใบปลิว เมนู ฯลฯ
  • แคมเปญโฆษณาออกอากาศทั่วประเทศผ่านการใช้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ
  • ให้คำแนะนำ และการสนับสนุนในเรื่องแผนการส่งเสริมการตลาดเฉพาะของแต่ละร้าน ในแต่ละทำเล
  • สร้างการรับรู้เรื่องเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ เดอะ พิซซ่า คอมปะนี และการทำโฆษณาเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์
การฝึกอบรม เดอะ พิซซ่า คอมปะนี
  • ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์และผู้จัดการร้านจะต้องเข้าโปรแกรมการฝึกอบรม ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์
  • การฝึกอบรมจะครอบคลุมทุกด้านเกี่ยวกับการดำเนินงานของร้าน เทคนิคที่เกี่ยวกับการเตรียมอาหารและการใช้เครื่องมือต่างๆ การบริหารคน การแก้ปัญหาเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า การสร้างทีมงานและการบริหารเวลา
  • เดอะ พิซซ่า คอมปะนี จะส่งทีมงานไปยังร้านของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะมีการเปิดร้าน เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจว่า การเปิดร้านจะเป็นไปด้วยความราบรื่น สามารถสร้างความประทับใจที่ดีให้กับลูกค้า เป็นผลดีต่อกิจการในอนาคต นอกจากนั้น ยังเป็นการฝึกอบรมและสร้างทีมงานที่มีความพร้อมให้กับพนักงานในร้านทั้งหมด
  • ทีมงานจะไปเยี่ยมร้านของผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพื่อสื่อสารข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลประกอบการและการพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิเช่น การตลาดเฉพาะสาขา การฝึกอบรม การพัฒนาบุคลากร การปฏิบัติงานภายในร้าน
สุดท้าย ทำไมต้อง เดอะ พิซซ่า คอมปะนีละ
  • เดอะ พิซซ่า คอมปะนี สามารถให้การสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ให้คำแนะนำในการเลือกทำเลที่ตั้งการออกแบบร้าน และการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การฝึกอบรมพนักงาน ไปจนถึงแผนการตลาดและส่งเสริมการขาย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณมีพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง
  • เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ความอร่อยและความหลากหลายในด้านอาหาร เพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าอย่างเต็มที่ 100%
  • ความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาร้านในตลาดใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
  • นำเสนอแนวคิดที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารภายในร้าน การส่งอาหารตรงถึงบ้าน ซึ่งเราเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่ส่งฟรี รับประกันภายใน 30 นาที
  • เปี่ยมล้นด้วยประสบการณ์ และความรู้ความเข้าใจในธุรกิจร้านอาหาร มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร
  • มีการทำวิจัยตลาดและความต้องการของผู้บริโภค โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการ
จะซื้อแล้ว ติดต่อใครหละ
คุณอรรถ ประคุณหังสิต arth_pr@minornet.com
คุณพจนา สุวรรณทวีศรี pojjana_su@minornet.com
บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 99 ชั้น 15 อาคารเบอร์ลี่ยุคเกอร์ ซอยรูเบีย ถนนสุขุมวิท 42 คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร 02-381-5123-32
แฟกซ์ 02-381-5119

เวปไซต์ www.pizza.co.th
www.minorfoodgroup.com

มีตังค์ 20 ล้าน ลงทุนเลยครับ ขอให้รวย