วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:พี่สร้างร้านแฟรนไชส์ต้นแบบแล้วหรือยัง Franchise Pilot Project


franchise/ แฟรนไชส์

Franchise Pilot Project ร้านต้นแบบแฟรนไชส์

         ถ้าจะกล่าวถึงการเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้น ร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project ถือว่าเป็นการเริ่มต้นระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ที่สำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นจุดหลักในการเป็นต้นร่างของ โครงการ ที่เป็นภาพที่ เห็นเด่นชัดที่สุด เป็นแหล่งข้อมูล ในการจดบันทึก ทั้งตัวเลขและ วิธีการบริหารร้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษา ในการสร้างระบบ แฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบต่อไป
         นอกจากนี้ Pilot Project ยังมี ประโยชน์อีกมากมาย เช่น เป็นร้านตัวอย่าง เป็นสถานที่ฝึกงานของ แฟรนไชซี่ได้อีกด้วย เมื่อตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจ ในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ ที่จะบอกถึงทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย จะบอกถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง
 .:: ขั้นตอนของการทำ Pilot Project มีดังต่อไปนี้คือ ::.
1. วัตถุประสงค์
         มีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนทำโครงการ ควรที่จะร่าง วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการ ตรงกับความต้องการ ของธุรกิจอย่าง ถูกต้อง เช่น ระบุว่าต้องการทำโครงการต้นแบบ ร้านอาหารซึ่งระบบเที่นี้ไม่เพียงพอ ควรที่จะระบุว่าเป็นร้าน อาหารประเภท ไหน ตั้งอยู่ทำเลอะไร ใครเป็นลูกค้า ชนิดของอาหาร รวมทั้ง จะมีเอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์อาหารแบบไหนด้วย สามารถเขียน ง่าย ๆ สั้น ๆ ว่าต้องการ ทำโครงการร้านต้นแบบ อาหารไทย ลักษณะฟาสท์ฟู้ด เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น ร้านบัวบาน เป็นต้น
2. Who is Pilot Project
         สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปก็คือ ร้านต้นแบบควรจะบริหารงานโดยใคร ถ้าจะให้โครงการสมบูรณ์จริง ๆ ควรที่จะคัดเลือกผู้ที่จะมาดำเนิน งานร้านต้นแบบนี้ โดยคัดเลือกจากผู้บริหารในบริษัท เป็นผู้ดำเนินงานแล้วให้ลงทุน ร่วมไม่เกิน 25% ก็ได้หรือแบ่งเปอร์ เซ็นต์จากผลกำไร ให้นอกเหนือจากเงินเดือนจะทำให้ Pilot Project แสดงภาพของ Franchisee ได้ชัดเจนมากขึ้น เกิดภาพ แห่งการเรียนรู้ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารที่เป็นเจ้าของบริษัท และฝ่ายแฟรนไชซี่
3. Corporate Identity
         เอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์ของร้าน ความจำเป็นของเอกลักษณ์ ของร้านมีความสำคัญอยู่ตรงที่จะสร้างแรงดึงดูดจูงใจให้ลูกค้า มาใช้บริการได้มากน้อยแค่ไหน ร้านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว จะได้เปรียบมาก สามารถสร้างพลังในการที่จะต่อสู้กับ คู่แข่ง ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อและไม่หนักแรง
          เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือกาลนาน ที่ซีคอนแสควร์ สร้างเอกลักษณ์ได้ดีมาก คือ ร้านจะให้สีเข้ม และมี เรือขนาดใหญ่ อยู่หน้าร้าน อาหารรสชาติตรงใจวัยรุ่นที่ชอบรส แซ่บ ๆ แบบก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านดูสะอาดน่าเข้ามาก Theme ของร้านสามารถดึงดูดให้คนสนใจได้อย่างดี Sentimental Perception โทนสีของร้านจะใช้สีทึบดูขรึม ให้อารมณ์แบบไทยโบราณ
          ในบางธุรกิจสีของร้าน อาจใช้สีที่ร่างเริง อยู่เสมอเช่น ร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น ใช้สีเขียวแดง ร้านแมคโดนัลด์ ใช้สีโลโก้เป็น แดงเหลือง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่จ้องดูแล้วเรียกน้ำลายได้ เป็นอย่างดี
          เรื่อง Corporate Identity จะต้องคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
ป้าย (Signs) ทั้งหน้าร้านและในร้าน ควรมีสีสรร ที่ตรงกับ Concept ของธุรกิจ
การตกแต่ง (Decoration) ควรผสมผสานกับสินค้า และการให้ บริการในร้าน อย่างเหมาะสมและกลมกลืน
4. Location
         ทำเลที่ตั้ง ในการทำธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง เป็นตัวบอกถึงความสำเร็จ หรือล้มเหลวของธุรกิจได้มาก เพราะถ้าทำเลที่ตั้งไม่ดีแล้ว ยากมากที่ จะประสบความสำเร็จ คิดจะใช้ฝีมืออย่างเดียวคงจะสู้คู่แข่งที่ทำเล ดีกว่านี้ จะค่อนข้าง หนักแรงมากทำให้ผลกำไรลดลง อย่างมาก หรือ ไม่มีกำไรเลยก็ได้
 ดังนั้น ถ้าไม่มีทำเลที่ดีแล้ว อย่าเพิ่งเริ่มธุรกิจจะดี กว่า ทำเลธุรกิจในปัจจุบันมักจะอยู่ 2 จุดใหญ่ คือ ไม่เข้าห้างสรรพ สินค้า พลาซ่า ก็อาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ยุคนี้ควรจะมองทำเลใน ห้างสรรพสินค้า หรือพลาซ่าจะดีกว่า
ข้อแนะนำทำเลสำหรับ Pilot Project คือ
        ถูก คือ ถูกเงิน และถูก Concept ถูกเงินคือค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าของ อาคารและพื้นที่ ควรอยู่ที่ 10-15% ของยอดรายรับ ซึ่งถ้าค่าเช่า เป็นแสนบาทต่อเดือน จะต้องคำนึงถึงยอดรายรับที่ 1 ล้าน ถึง 1.5 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว ส่วนคำว่าถูก Concept หมายถึงจะ ต้องอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น โรงเรียนกวดวิชาควรจะ อยู่ในทำเลใกล้สถานศึกษา ไม่ควรอยู่ในสถานเริงรมย์อย่าง RCA เป็นต้น
         สวย หมายถึง ตัวอาคารหรือพื้นที่เช่า ควรมีรูปร่างทรงสี่เหลี่ยม ง่ายต่อการตกแต่ง และการออกแบบ เห็นง่ายไปมาสะดวก มี Direction ชัดเจน เช่น อยู่ใกล้อนุสาวรียชัยฯ ใกล้ร้านแมคโดนัลด์ เป็นต้น
         ดี จะต้องอยู่กับผู้ให้เช่าที่ดี มีความมั่นคงและอยู่ในจุดที่มีคน พลุกพล่าน เช่น ใกล้ตลาด หรือ อยู่ ในพลาซ่า ซึ่งเป็นทำเล ที่เศรษฐกิจ ตกต่ำมากเท่าไรก็ตาม ผู้บริโภคก็ จะต้องไปใช้ บริการตรงนั้น
5. ระบบการจัดการ
         จะต้องมีระบบการจัดงานของร้านต้นแบบ ให้มีระบบที่สามารถพึ่ง ตนเองได้ เช่น มีระบบการจัดสินค้า และบริการที่ดี มีระบบบัญชีแบบ Small Business ที่สามารถรู้กำไรขาดทุนของร้างได้ทุกเดือน หรือสามารถทำงบดุลได้เอง ควรมีระบบบริหารงานบุคคลภายใน ร้านได้มีกฎระเบียบการบริหารให้พนักงานในร้านปฏิบัติตาม และข้อสำคัญมาก ควรมีการจดบันทึกการทำงานแบบ Dairy Report ทุกวัน
          ควรมีการบันทึกควบคู่กับการถ่ายรูปทุกขั้นตอนการ ทำงาน ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน แนวทางการแก้ปัญหาไว้ อย่างละเอียด ควรเริ่มตั้งแต่การเตรียมการ ตกแต่งร้าน การจัดสินค้า กิจกรรมทางการตลาดต่าง ๆ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานทุก ขั้นตอนของร้าน เพื่อให้มีผลกำไร รวมทั้งการสนับสนุนจากสำนัก งานใหญ่ จะต้องมีอะไรบ้าง การคิดค่าใช้จ่าย ค่ารอยัลตี้ จะคิดอย่างไร ตัวเลขการคืนทุนภายในกี่ปี
          โดยปกติแล้ว Pilot Project จะต้องดำเนินการอย่างน้อย 1 รอบบัญชี คือ 1 ปี แล้วนำ มาเปรียบเทียบตัวเลขและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการว่า ตรงกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่หรือไม่ สามารถดำเนินงานในระบบนี้ ต่อไปอย่างไร
6. มาตรฐานของ Pilot Project
         ในการสร้างร้าน Pilot Project ควรที่จะสร้างมาตรฐานขึ้นมา ตั้งแต่การออกแบบตกแต่ง ระบบงานต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยี (IT) ทุกวันนี้ระบบคอมพิวเตอร์มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจแบบ SMEs เพราะจะช่วยประหยัดเวลาและช่วงการดำเนินงานไม่ให้ ผิดพลาด
ดังนั้นร้านที่มีมาตรฐาน ควรจะมีการนำเอาระบบ IT เข้า มาช่วยในการบริหารงานต่าง ๆ และจะทำให้แฟรนไชซอร์ สามารถ ควบคุมดูแลการทำงาน ของแฟรนไชซี่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คำว่า มาตรฐานควรจะมีทีม AUDIT ที่จะเข้าไป ตรวจสอบ การทำงานของแฟรนไชซี่ด้วย
ซึ่งการมี AUDIT แฟรน ไชซี่ นั้นมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อด้วยกันคือ
6.1. ช่วยตรวจดูระบบและการทำงานตลอดจนคุณภาพมาตรฐาน ของสินค้า และบริการของธุรกิจ ตรงตามที่กำหนดหรือไม่
6.2. ตรวจสอบเพื่อช่วยแฟรนไชซี่ให้พัฒนาและสร้างมาตรฐานได้ ตรงตามที่กำหนด รวมทั้งช่องตรวจสอบการทุจริตที่พนักงานในร้าน อาจมีต่อแฟรนไชซี่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น