วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:สัญญากับแฟรนไชส์

         อ่านแล้วรวย ช่วงนี้ค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ  "สัญญาแฟรนไชส์" มาให้นำมาเป็นส่วนประกอบในการเลือกแฟรนไชส์

                    ระบบแฟรนไชส์ คือ ระบบซึ่ง  บุคคลหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ขายแฟรนไชส์  อนุญาตให้  บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์  ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้ขายแฟรนไชส์ กับสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านระบบบัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนินกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการด้วย

จากที่กล่าวมา การซื้อขายแฟรนไชส์จึงเป็นการซื้อขายระบบ มิใช่เป็นเพียงการซื้อขายป้ายสำหรับไปติดที่หน้าร้าน หรือที่ตัวสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ก็ยังได้กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน ต้องนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปจ! ดทะเบียนกับนายทะเบียน โดยในคำขอจดทะเบียนต้องระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้ากับผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริงด้วย

2. ทำไมถึงต้องทำแฟรนไชส์

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ Franchise Tips

Franchise Tips : กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนชส์ ธุรกิจ)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชซอร์ (บริษัทแม่) และแฟรนไชซี (สาขา) ได้เข้าใจถึงการทำธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานและป้องกันความผิดพลาด ดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ในความหมายของธุรกิจแฟรนไชส์หมายถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซีจะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้า หรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

โดยแฟรนไชซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เช่นการให้ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า ดังนั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะต้องดูว่าจะได้รับเสนอบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป

2.เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์เป็นรายเดือน โดยคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน โดยแฟรนไชซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขายให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กฏข้อห้ามในการเลือซื้อแฟรนไชส์

   อ่านแล้วรวย วันนี้ที่จะเล่าเป็นเรื่องเนื้อๆเน้นๆครับ  เพราะคนที่เลือกลงทุนแฟรนไชส์เกือบ 90%เป็นการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ครั้งแรก  ดังนั้นต้องบอกต้องเตือนก่อนตัดสินใจซื้อ  มีอะไรบ้างหรือครับ
กฎต้องห้ามในการเลือกซื้อแฟรนไชส์
            มีเหตุเกิดขึ้นในหลายกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์มักถูกหลองลวงจากผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ โดยที่เบื้องหลังไม่ได้มีธุรกิจอะไรเลย หรือในบางกรณีคือ เมื่อซื้อแฟรนไชส์แล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทตามมาในภายหลังได้ ดังนั้นข้อแนะนำเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์กับท่านได้

ต้องยอมรับว่าต้นเหตุของความผิดพลาดประการหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองที่ขาดความระมัดระวังหรือไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอันที่จริงการที่จะตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากลองพิจารณาตามเกณฑ์นี้

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยไม่ได้เยี่ยมชมบริษัท
มีหลายคนที่ตกลงปลงใจซื้อแฟรนไชส์จากกระดาษ 2-3 ใบ หรือจากคำพูดชวนเชื่อ ทั้งๆ ที่การลงทุนนั้นเป็นหลักหมื่นหลักแสนขึ้นไป โดยไม่เคยย่างกรายเข้าไปเยี่ยมชมบริษัทนั้น นี่คือความผิดพลาดที่ไม่อาจจะโทษใครได้ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อจะต้องเข้าไปที่บริษัทนั้นเพื่อดูด้วยตาของตัวเองว่า เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงหรือไม่ เปิดมานานเท่าไรแล้ว มีพนักงานกี่คน แต่ละคนทำอะไรบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อให้มั่นใจในระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีตัวตนอยู่จริง

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่เห็นร้านค้า
ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ได้ย่อมต้องมีธุรกิจที่เปิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีบริษัทอยู่จริงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จนกว่าผู้ซื้อจะได้เข้าไปดูร้านที่เปิดดำเนินการขึ้นมาแล้วว่ามีคนมาใช้บริการหรือไม่ มากน้อยเพียงใด บริษัทมีร้านของตัวเองอยู่ที่ไหนบ้าง และมีร้านของแฟรนไชส์อยู่ที่ไหนบ้าง ยิ่งหากมีโอกาสไปเยี่ยมชมมากเท่าไร ผู้ซื้อก็จะยิ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากเท่านั้น

อย่าลืมพูดคุย
ในการไปเยี่ยมชมกิจการแต่ละครั้ง อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรสอบถามเจ้าของร้านหรือพนักงานที่ร้าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องลูกค้า รายได้ ยอดขาย ว่าสม่ำเสมอทุกเดือนหรือไม่ เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด

ไปหลายๆ แห่ง
ถ้าจะให้ดีผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรที่จะไปเยี่ยมร้านค้าหลายๆ แห่ง เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดในข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ตั้ง หรือการบริหารงานในร้านสาขานั้นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรที่จะไปเยี่ยมหลายๆ สาขาเท่าที่จะสามารถให้ข้อสรุปแก่ตัวเองได้ เพื่อเป็นการประมวลและเปรียบเทียบข้อมูลว่ากิจการแฟรนไชส์นั้นน่าลงทุนหรือไม่

อย่าชื้อแฟรนไชส์ที่อายุน้อย
ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจที่เพิ่งเปิดดำเนินการหรือมีอายุเพียงแค่ 1-2 ปี นั่นหมายความว่าธุรกิจนั้นย่อมขาดประสบการณ์ที่เพียงพอ และไม่มีทางที่จะให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงควรตัดตัวเลือกนี้ทิ้งไปเป็นอันดับแรกสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดขึ้นมาแค่ไม่กี่ปี เพราะนอกจากจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสำเร็จของตัวเองได้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับนักลงทุน

อย่าซื้อกิจการที่ยังไม่ได้กำไร
ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะล่วงรู้ถึงตัวเลขและผลกำไรในธุรกิจนั้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือต้องเกรงใจที่จะยิงคำถามตรงๆ กับเจ้าของแฟรนไชส์ โดยคำตอบที่ได้อาจเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ แต่อย่างน้อยก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจนั้นๆ น่าลงทุนแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม ข้อที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดที่ต้องพิจารณาให้มากที่สุดคือ ตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองมีความตั้งใจและพร้อมที่จะต่อสู้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนมากยังเข้าใจผิดอยู่ก็คือ คิดว่าเมื่อกำเงินมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์แล้วจะต้องได้กำไรกลับคืนมาแน่นอน และคาดหวังว่าบริษัทแม่จะเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างให้เสร็จสรรพ แต่ในความเป็นจริงก็คือ ความสำเร็จของธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผู้ประกอบการเองที่มีความเอาใจใส่และรอบรู้ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์จะมาจากตัวผู้ลงทุนเอง ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์คือความช่วยเหลือในการก่อตั้งของบริษัทแม่

รวยด้วยแฟรนไชส์:ทำแฟรนไชส์อย่างไรจึงได้ผล

ทำแฟรนไชส์อย่างไร
.:: ทำแฟรนไชส์อย่างไร จึงจะได้ผลจริง ? ::.
โรงอาหารที่นครนิวยอร์คซิตี้ แห่งหนึ่งได้ทำธุรกิจมา 60 ปีแล้ว และเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจฟาส์ตฟู้ด ตำนานของโรงอาหารแห่งนี้ มีบางเวลาดี และบางทีก็แย่ แต่เมื่อธุรกิจนี้ปรับตัวจากโรงอาหารที่กำลังตกต่ำ มาเป็นเบอเกอร์คิงส์ ไม่นานนัก สาขาแห่งนั้นก็บริการลูกค้าได้ 5,000 กว่า คนในเวลา 1 วัน และในปัจจุบันก็ขยาย บริการไปสู่ลูกค้าทั้งโลกด้วยระบบแฟรนไชส์
อำนาจของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่มากมายเช่นนี้ ทำให้หลายคนตาลุก อยากจะนำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์บ้าง แต่ความสำเร็จของแฟรนไชส์ ไม่ใช่อยู่แค่เพียงชื่อ หรือแค่ความอร่อยของอาหาร จุดที่ทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว โครงสร้างของธุรกิจ การจัดการองค์กรระบบธุรกิจ การอบรมและระดับการให้การสนับสนุนของบริษัทแม่
ถ้าคุณเป็นผู้ที่ต้องการความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ คุณต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนว่า แก่นแท้ของแฟรนไชส์คืออะไร มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะประสบความสำเร็จในระบบนี้ โดยที่คุณมีความรู้แบบ งู ๆ ปลา ๆ
แฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เดียวกัน กลยุทธ์ของการเติบโต ธุรกิจจะต้องบริหารจัดการภายใต้กติกาเดียวกัน
หลาย ๆ คน เมื่อประสบความสำเร็จในสาขา 2-3 และเริ่มขายแฟรนไชส์ในสาขาแรก ก็รู้สึกภาคภูมิใจหนักหนา เมื่อถูกถามถึงว่าแฟรนไชส์ ของคุณมีอะไรก็ตอบคล้ายกันว่า เหมือนกับ 7-อีเลฟเว่น แมคโดนัลด์ หรืออะไรก็ตามที่อธิบายในเรื่องของสินค้าที่ขาย ไม่มีรายละเอียดของการทำระบบที่เป็นไปได้ ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ แต่อีกไม่นานในรายที่ตอบคำถามอย่างนั้น ก็จะตกต่ำแล้วเปลี่ยนระบบธุรกิจ กลายมาเป็น สาขาของตัวเอง และพวกเขาก็เพิ่งจะตระหนักว่า คำตอบที่แท้จริงของระบบแฟรนไชส์ก็คือ...
- การทำจะต้องทำระบบธุรกิจตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
- และแม้ว่าคุณอาจจะเยี่ยมยอดในการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะประสบความสำเร็จได้ในการทำแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ เป็นวิธีการกระจายสินค้าที่ต่างจากที่คนส่วนมากใช้
- และเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบของตัวมันเอง ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 

วันอังคาร

รวยด้วยแฟรนไชส์การศึกษา : คูมอง Kumon

                    คูมอง            
                    อ่านแล้วรวย   ใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด  สำหรับแฟรนไชส์ทางการศึกษาที่เห็นมากคุ้นหูคุ้นตาใน 2-3 ปีที่ผ่านมา  ก็คือ คูมอง นี่แหละ  จึงหยิบยกมาเป็นแฟรนไชส์แรกในหมวดนี้ให้ได้ศึกษาดูกัน  มันมี 2 เรื่อง คือทำไมถึงนิยมกันเยอะ  ส่วนหนึ่งผมเข้าใจว่าเป็นเพราะค่าลงทุนไม่มากเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นที่ดังพอๆกัน  ราคาถูกกว่าที่อื่นเกือบ 70%เชียว จึงทำให้มีผู้เป็นแฟรนไชส์ซีกันเยอะ  พอเยอะก็น่าจะทำให้มีโอกาสดังได้(แต่ของเขาคงดีด้วยแหละ  เพราะไอ้ที่ถูกๆแต่ไม่ดังนั้นมีเยอะมาก)  ดังนั้นสิ่งแรกก็น่าจะเป็น ถูกและดี  ส่วนข้อที่สองน่าจะเป็นทีมการตลาดที่แข็งแกร่ง  เพราะเวลาอ่านแล้วรวย มากรุงเทพ  สนามบินภายในประเทศนั้น  ตราสัญลักษณ์คูมองเตะตา  คนทุกจังหวัดเชื่อถือกับการได้เห็นตรงนี้มากครับ  จึงกระตุ้นให้นำลูกหลานไปเรียนได้พอสมควร  และถ้าขับรถตามต่างจังหวัดเปิดวิทยุในรถฟัง  ก็จะมีสปอร์ตโฆษณาของคูมองหลายจังหวัด  อันนี้ถ้าดูรายละเอียดด้านล่างที่ต้องเสียค่าส่วนแบ่งเป็น % ค่อนข้างสูงก็อาจเป็นเหตุผลนี้ก็ได้   เอาละครับพูดพล่ามมายาว  ดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า



              ระบบคุมอง คือระบบการเรียนที่มีเป้าหมาย อยู่ที่การ สร้างกำลัง ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็ก ๆ มีความพร้อมและกำลังเพียงพอที่จะเรียน ในระบบการสอนแบบในโรงเรียนได้อย่าง มั่นใจและ มีความสุข โดยการสร้างรากฐานทางคณิตศาสตร์และ ภาษาอังกฤษให้แข็งแรงให้แก่เด็ก ทุกระดับชั้นด้วยการเรียน เฉพาะตัว ตามศักยภาพ ของ แต่ละคนโดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้างความเชี่ยวชาญในเนื้อหาระดับ มัธยมปลายด้วยการ เรียนรู้ ด้วยตนเอง


ค่าแฟรนไชส์เท่าไหร่ครับ
50,000 บาท
มีกี่สาขาแล้วครับในเมืองไทย
430 สาขา


ประมาณ 100,000 บาท ซึ่งแบ่งออกเป็นค่า
  • License Fee 24,610 บาท
  • Bank Guarantee 50,000 บาท
  • ส่วนที่เหลือเป็นค่าอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ เช่น โต๊ะเรียน เก้าอี้ ตู้ใส่แบบฝึกหัด
    (ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวามค่าตกแต่งและค่าเช่าสถานที่)
ค่าใช้จ่ายของใบอนุญาตแต่ละประเภท
  1. ใบอนุญาต Provisional License  
    • License Fee 24,610 บาท 
    • ค่า Royalty Fee 45% 
  2.  ใบอนุญาต Authorized License  
    • License Fee 16,050 บาท 
    • ค่า Royalty Fee 40%

  • License fee ชำระครั้งเดียวในแต่ละประเภท โดยคิดเป็นรายวิชาที่เปิดสอน
  • Royalty fee ชำระทุกเดือน โดยคิดเป็น % ของค่าเล่าเรียนที่เก็บจากนักเรียน
  • Franchise agreement จะมีอายุ 2 ปี ทั้ง ประเภท provisional license และ authorized license ซึ่งจะได้รับการต่ออายุโดยอัตโนมัติไปอีก 2 ปี ถ้า instructor สามารถสอน และบริหารศูนย์ของตนได้ตามมาตรฐาน และคำแนะนำของบริษัท

  • สุภาพสตรี อายุ 30 - 45 ปี
  • วุฒิการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรี
  • มีพื้นฐานความรู้ทางวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
  • สามารถสอนและบริหารศูนย์ได้เต็มเวลาด้วยตนเอง
  • มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง 

ขั้นตอนการเตรียมการเปิดสอน
  • การเข้ารับฟัง สัมมนาผู้สนใจเปิดศูนย์ และ ทดสอบความสามารถ ทางคณิตศาสตร์การสัมภาษณ์รายบุคคลครั้งที่ 1
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 1 (NIT1)
  • การสัมภาษณ์รายบุคคล ครั้งที่ 2
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 2 (NIT2)
  • การตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 3 (NIT3)
  • การสัมภาษณ์รายบุคคลครั้งที่ 3 โดยกรรมการผู้จัดการ
  • การชำระค่าใบอนุญาตเปิดศูนย์
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 4 (NIT4)
  • การอบรมสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 5 (NIT5)
  • การฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 1
  • การฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เปิดศูนย์ใหม่ ครั้งที่ 2 
หมายเหตุ : ขั้นตอนทั้งหมดในการเตรียมการเปิดศูนย์ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน 

สถานที่ที่เหมาะสมจะเปิดศูนย์
  • การเปิดศูนย์ Kumon ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขอบเขตพื้นที่ ของระยะห่างจากศูนย์ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้ Instructor ของ Kumon จะต้องมีเป้าหมายร่วมกันที่มุ่งให้นักเรียนและผู้ปกครองจำนวนมากที่สุด ได้รับประโยชน์จากการเรียนแบบ Kumon เพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ
  • ขนาดสถานที่ 100 ตารางเมตร ขึ้นไป โดยประกอบด้วยห้องพักรอผู้ปกครองห้องประชุมและห้องเรียน
  • ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน นักเรียนสามารถเดินทางมาที่ศูนย์ได้อย่างสะดวก
  • ตั้งอยู่ในสถานที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นสถานที่เรียน
  • มีที่จอดรถเพียงพอ
  • สถานที่มีความปลอดภัย อากาศถ่ายเทสะดวก มีห้องน้ำอำนวยความสะดวก ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง และมีแสงสว่างเพียงพอ
    ทั้งนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็นสถานที่ของผู้เปิดศูนย์เอง หรือเป็นสถานที่เช่า เป็นอาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ในห้างสรรพสินค้า หรือเป็นบ้านพักอาศัย
  • สถานที่เปิดศูนย์ Kumon จะต้องได้รับการตรวจสอบ และอนุญาตจากบริษัทฯ ก่อนที่จะทำการเปิดศูนย์ Kumon 

การตกแต่งศูนย์
  • ภายในศูนย์คุมองจะต้องประกอบไปด้วย ห้องพักรอผู้ปกครอง ห้องประชุม และห้องเรียน โดยมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่มีรูปแบบเดียวกันเพื่อแสดงถึงมาตรฐานของภาพลักษณ์ของศูนย์คุมอง ได้แก่
    • ป้ายแสดง logo ของบริษัท และชื่อศูนย์รูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะและเก้าอี้สำหรับนักเรียนรูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะและเก้าอี้สำหรับ instructor รูปแบบของคุมอง
    • ตู้เก็บแบบฝึกหัดรูปแบบของคุมอง
    • โต๊ะสำหรับอุปกรณ์เสริมที่ใช้ประกอบการเรียน
  • ส่วนการตกแต่งอื่นๆ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้เปิดศูนย์และคำแนะนำของบริษัท ทั้งนี้จะต้องเป็นไปในลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นสถานที่ศึกษา
 ประเภทของ License
  1. Provisional License 
    Instructor ทุกท่านได้รับใบอนุญาตประเภท Provisional License เมื่อผ่านขั้นตอนการคัดเลือกและฝึกอบรมจนกระทั่งได้เปิดศูนย์
     
  2. Authorized Licenseเมื่อเปิดศูนย์ครบ 1 ปี Instructor สามารถสมัคร เพื่อขอรับใบอนุญาตประเภท Authorized License จากบริษัทได้ โดยบริษัทเป็นผู้พิจารณาเกณฑ์ต่างๆ เช่น คุณภาพในการสอน และการบริหารศูนย์ การเข้าร่วมการสัมมนาที่บริษัทจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ความร่วมมือกับบริษัทในการจัดกิจกรรมต่างๆ และมีอัตราการเรียน ที่ต่อเนื่องของนักเรียน 80 % ขึ้นไป เป็นต้น  


ระบบการเรียนแบบคุมอง ถูกคิดค้นขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1954 โดย โทรุ คุมอง ซึ่งในขณะนั้นเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่ง

 สถาบันสอนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่จะเน้นการติวหรือการสอนเทคนิคการทำข้อสอบเพื่อให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ หรือสอบ เข้าเรียนตามสถาบันต่าง ๆ แต่คุมองไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเป็นเช่นนั้น 

โทรุ คุมอง ต้องการช่วยบุตรชาย ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และมีปัญหากับ การเรียนคณิตศาสตร์ เขาจึงได้คิดออกแบบแบบฝึกหัดขึ้นมาเป็นพิเศษ และให้บุตรชายทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ผลที่ได้รับคือบุตรชายของเขา สามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ เช่น สมการอินติเกรต สมการอนุพันธ์ และแคลคูคัส ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับมัธยมปลายได้อย่างคล่องแคล่ว ในขณะที่เขาเรียนอยู่เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น

ชื่อเสียงของ ระบบการเรียนแบบคุมองได้รับการกล่าวถึง และแพร่หลายไปทั่วญี่ปุ่นและทั่วโลกอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นสถาบันการศึกษาที่มีเครือข่ายมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แพร่หลายไปในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ รวม 45 ประเทศทั่วโลก 

ในปัจจุบันมีศูนย์อยู่ทั้งหมดกว่า 28,000 แห่งทั่วโลก มีนักเรียนที่กำลังเรียนมากกว่า 4 ล้านคน เป็นระบบการเรียนรู้ ที่ได้รับการยกย่องว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด และกำลังมาเป็นรูปแบบของการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21

ระบบคุมองเป็นการสอนให้เด็กฝึกคิดด้วยตนเองจากการทำแบบฝึกหัดในเนื้อหาที่เหมาะสมกับความสามารถของเขาทุกวัน เพียงวันละ 15 - 20 นาที ประโยชน์ที่เด็กจะได้จากการเรียนคุมอง คือ ความมั่นใจของพวกเขาใน การเรียนคณิตศาสตร์และภาษา ในโรงเรียนได้อย่างสบาย นอกจากนี้เด็ก ๆ ยังสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ ในการดำเนินชีวิตได้อย่างประสบ ความสำเร็จในอนาคต




บริษัท คุมอง (ไทยแลนด์) จำกัด
อาคารไซเบอร์เวิร์ล ตึก A ชั้น 15-16 เลขที่ 90 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
02-626-6555
02-626-6599