วันพฤหัสบดี

รวยด้วยแฟรนไชส์:3 ปัจจัยเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์

FRANCHISE TIP : 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์ 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อคิด 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์เพื่อให้ผู้แฟรนไชซีใช้ในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ดังต่อไปนี้ 

1.ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชซี ดังนั้นแฟรนไชซีจึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ 

ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆ เรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ เพราะหากแฟรนไชซีไม่สามารถปฎิบัติได้อย่างที่แฟรนไชซอร์ทำแล้วละก็ตามธรรมชาติผู้รับผิดชอบก็ต้องหาหนทางอื่นที่จะทำ เนื่องจากต้องรับผิดชอบทำให้การทำงานเกิดการเบี่ยงเบนออกจากมาตรฐานต่างๆ ได้
 

ดังนั้น การพัฒนาธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดข้อจำกัดต่างๆ ในการปฎิบัติงานให้แก่บุคคลที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจให้สามารถปฏิบัติตามได้โดยง่าย และมีความสำเร็จ ในทุกๆ แง่มุมของธุรกิจ เช่น ควรขายสินค้าอะไรที่ราคาเท่าใด หรือเมื่อไหร่ที่จะเสนอขายสินค้าลดราคาและอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชซียังไม่สามารถตัดสินใจกระทำการใดๆ เพียงลำพังที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณะของแฟรนไชส์ หรือของแฟรนไชซีอื่นๆ 

2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์แต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้โดยปกติ นอกจากนี้ อาจพบว่าแฟรนไชซีอาจประสบความล้มเหลวด้วยสาเหตุเงินทุนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ขาดวิสัยทัศน์หรือทำเลที่ตั้งแหล่งระบายสินค้าไม่เหมาะสม สาเหตุของความล้มเหลวที่แฟรนไชซีไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชซอร์ได้ อย่างไรก็ดีสาเหตุของความล้มเหลวแบ่งออกได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือสาเหตุจากตัวแฟรนไชซีเองและสาเหตุจากระบบแฟรนไชซอร์ 

ในด้านตัวของแฟรนไชซีนั้นโดยทั่วไปก็มักจะพบว่าคุณสมบัติของแฟรนไชซีที่ถูกเลือกเข้ามาเพื่อประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ มีความสามารถไม่ตรงหรือไม่มากพอ หรืออีกทางหนึ่งอาจได้รับการอบรมจากแฟรนไชซอร์ไม่ดีพอด้วยก็อาจเป็นได้ ซึ่งหากสาเหตุของการล้มเหลวเป็นไปในแนวนี้ทางแก้ก็สามารถทำได้ด้วยการให้การอบรม และระบบการสนับสนุนที่ใกล้ชิดซึ่งหากแฟรนไชซียังคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแผนของการดำเนินธุรกิจได้ ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเกิดขึ้น 


ในด้านของระบบแฟรนไชส์โดยทั่วไปมักมาจากระบบการดำเนินธุรกิจที่เดิมแฟรนไชซอร์ให้มานั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างง่าย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระบบนั้นต้องการคุณสมบัติพิเศษมากเกินไปหรือไม่ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบที่ง่ายขึ้น แต่ยังคงขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากเกินไป ดังนั้น การแก้ไขจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาระบบการดำเนินงานต่างๆ รวมถึงการอบรมใหม่ ซึ่งหากการเปลี่ยนแปลงทำได้ยาก แน่นอนความสำเร็จของระบบแฟรนไชส์นั้นๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น 

3.ค่าใช้จ่ายสูง แฟรนไชซีจำเป็นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซื้อสิทธิในการประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซียังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้าและค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบริการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอร์เมื่อรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะพบว่าคิดเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อแฟรนไชซีได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น