วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:สัญญากับแฟรนไชส์

         อ่านแล้วรวย ช่วงนี้ค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ  "สัญญาแฟรนไชส์" มาให้นำมาเป็นส่วนประกอบในการเลือกแฟรนไชส์

                    ระบบแฟรนไชส์ คือ ระบบซึ่ง  บุคคลหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ขายแฟรนไชส์  อนุญาตให้  บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์  ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้ขายแฟรนไชส์ กับสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านระบบบัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนินกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการด้วย

จากที่กล่าวมา การซื้อขายแฟรนไชส์จึงเป็นการซื้อขายระบบ มิใช่เป็นเพียงการซื้อขายป้ายสำหรับไปติดที่หน้าร้าน หรือที่ตัวสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ก็ยังได้กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน ต้องนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปจ! ดทะเบียนกับนายทะเบียน โดยในคำขอจดทะเบียนต้องระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้ากับผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริงด้วย

2. ทำไมถึงต้องทำแฟรนไชส์

การทำธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์มีข้อดีหลายประการ ทั้งทางด้านผู้ซื้อแฟรนไชส์และผู้ขายแฟรนไชส์

ทางด้านผู้ซื้อแฟรนไชส์นั้น การซื้อแฟรนไชส์จะทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น เพราะผู้ขายแฟรนไชส์มีระบบและความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้อยู่แล้ว ผู้ซื้อแฟรนไชส์เพียงแต่ปฏิบัติตามคู่มือดำเนินงานของผู้ขายแฟรนไชส์ นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างตราสินค้า ยี่ห้อให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เพราะผู้ขายแฟรนไชส์บางรายได้สร้างตราสินค้าให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาแล้ว สำหรับเรื่องต้นทุนในการดำเนินงานนั้น ถ้าประกอบธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ก็จะทำให้มีต้นทุนต่ำกว่า เพราะร้านค้าในระบบแฟรนไชส์จะมีอยู่หลายร้าน ทำให้ได้เปรียบในเรื่องของต้นทุน

ทางด้านผู้ขายแฟรนไชส์ การขายแฟรนไชส์ทำให้สามา! รถขยายธุรกิจ ขยายสาขา ครอบคลุมพื้นที่ได้รวดเร็วกว่าการที่ผู! ้ขายแฟรนไชส์จะดำเนินการเอง ซึ่งยังเป็นการช่วยประหยัดเงินลงทุนด้วย

3. สัญญาแฟรนไชส์

ถ้าตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านผู้ซื้อหรือผู้ขายแฟรนไชส์ก็ตาม ก็ควรจะทำความตกลงให้ชัดเจนในรูปของสัญญาแฟรนไชส์

สัญญาแฟรนไชส์เป็นสัญญาที่กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ แต่ควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญา เช่น

* พื้นที่ จะอนุญาตให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ดำเนินการในเขตพื้นที่ใดได้บ้าง

* ระยะเวลา จะกำหนดให้สัญญาแฟรนไชส์มีอายุกี่ปี สามารถต่อสัญญาได้หรือไม่

* เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ ที่จะอนุญาตให้ใช้

* ความช่วยเหลือที่ผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ เช่น การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน

* การออกแบบตกแต่งร้าน ตามที่ผู้ขายแฟรนไชส์กำหนด

* ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ เช่น การจ่ายค่าธรรมเนียมขั้นต้น และค่าธรรมเนียมรายปี

* การควบคุมคุณภาพ เช่น การต! รวจร้านค้า การควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้

* การบอกเลิกสัญญา คู่สัญญาสามารถบอกเลิกสัญญาภายใต้เงื่อนไขใดได้บ้าง

สำหรับในต่างประเทศนั้น ในบางประเทศจะมีกฎหมาย กฎระเบียบ ที่ใช้บังคับกับการทำสัญญาแฟรนไชส์โดยเฉพาะ เช่น ผู้ขายแฟรนไชส์จะต้องเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ตามที่กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะซื้อแฟรนไชส์ทราบ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ สำนักงานใหญ่ของผู้ขายแฟรนไชส์ ประสบการณ์ทางธุรกิจของกรรมการ ของผู้บริหาร และของบริษัทแม่ของผู้ขายแฟรนไชส์ การบรรยายข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์ที่จะซื้อขาย จำนวนเงินทั้งหมด ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องจ่ายให้กับผู้ขายแฟรนไชส์ ชื่อของบุคคลต่าง ๆ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องติดต่อธุรกิจด้วยตามที่ผู้ขายแฟรนไชส์กำหนด รายชื่อสินค้า บริการ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องซื้อหรือเช่าตามที่ผู้ขายแฟรนไชส์กำหนด มีข้อจำกัดใด ๆ ต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือไม่ในด้านของสินค้า หรือบริการที่จะขาย หรือข้อจำกัดใด ๆ ทางด้านลูกค้า หรือพื้นที่ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะสามารถขาย หรือให้บริการ ชื่อ ที่อยู่ ของร้านค้าแฟรนไชส์ที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ตั้งใจจะเปิดดำเนินการ หรือชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์จากผู้ขายแฟรนไชส์ทั้งหมด จำนวนแฟรนไชส์ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือผู้ขายแฟรนไชส์บอกเลิก หรือไม่ต่ออายุสัญญาด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ ในบางประเทศจะต้องนำสัญญาแฟรนไชส์ไปจดทะเบียนด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น