วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:ทำแฟรนไชส์อย่างไรจึงได้ผล

ทำแฟรนไชส์อย่างไร
.:: ทำแฟรนไชส์อย่างไร จึงจะได้ผลจริง ? ::.
โรงอาหารที่นครนิวยอร์คซิตี้ แห่งหนึ่งได้ทำธุรกิจมา 60 ปีแล้ว และเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจฟาส์ตฟู้ด ตำนานของโรงอาหารแห่งนี้ มีบางเวลาดี และบางทีก็แย่ แต่เมื่อธุรกิจนี้ปรับตัวจากโรงอาหารที่กำลังตกต่ำ มาเป็นเบอเกอร์คิงส์ ไม่นานนัก สาขาแห่งนั้นก็บริการลูกค้าได้ 5,000 กว่า คนในเวลา 1 วัน และในปัจจุบันก็ขยาย บริการไปสู่ลูกค้าทั้งโลกด้วยระบบแฟรนไชส์
อำนาจของธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีอยู่มากมายเช่นนี้ ทำให้หลายคนตาลุก อยากจะนำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์บ้าง แต่ความสำเร็จของแฟรนไชส์ ไม่ใช่อยู่แค่เพียงชื่อ หรือแค่ความอร่อยของอาหาร จุดที่ทำให้แฟรนไชส์ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว โครงสร้างของธุรกิจ การจัดการองค์กรระบบธุรกิจ การอบรมและระดับการให้การสนับสนุนของบริษัทแม่
ถ้าคุณเป็นผู้ที่ต้องการความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ คุณต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนว่า แก่นแท้ของแฟรนไชส์คืออะไร มันเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะประสบความสำเร็จในระบบนี้ โดยที่คุณมีความรู้แบบ งู ๆ ปลา ๆ
แฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่มีเอกลักษณ์เดียวกัน กลยุทธ์ของการเติบโต ธุรกิจจะต้องบริหารจัดการภายใต้กติกาเดียวกัน
หลาย ๆ คน เมื่อประสบความสำเร็จในสาขา 2-3 และเริ่มขายแฟรนไชส์ในสาขาแรก ก็รู้สึกภาคภูมิใจหนักหนา เมื่อถูกถามถึงว่าแฟรนไชส์ ของคุณมีอะไรก็ตอบคล้ายกันว่า เหมือนกับ 7-อีเลฟเว่น แมคโดนัลด์ หรืออะไรก็ตามที่อธิบายในเรื่องของสินค้าที่ขาย ไม่มีรายละเอียดของการทำระบบที่เป็นไปได้ ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ แต่อีกไม่นานในรายที่ตอบคำถามอย่างนั้น ก็จะตกต่ำแล้วเปลี่ยนระบบธุรกิจ กลายมาเป็น สาขาของตัวเอง และพวกเขาก็เพิ่งจะตระหนักว่า คำตอบที่แท้จริงของระบบแฟรนไชส์ก็คือ...
- การทำจะต้องทำระบบธุรกิจตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
- และแม้ว่าคุณอาจจะเยี่ยมยอดในการทำธุรกิจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะประสบความสำเร็จได้ในการทำแฟรนไชส์
- แฟรนไชส์ เป็นวิธีการกระจายสินค้าที่ต่างจากที่คนส่วนมากใช้
- และเป็นธุรกิจที่มีรูปแบบของตัวมันเอง ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 

การเริ่มทำแฟรนไชส์ จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกฎหมาย นักบัญชีและวางกลยุทธ์และผู้ชำนาญการด้านการขาย การดำเนินงาน และการตลาด
ซึ่งจริง ๆ แล้วการที่คุณพยายามทำแฟรนไชส์ด้วยตัวคุณเอง มันก็เปรียบเสมือนการขับเครื่องบินโดยปราศจาก ผู้แนะนำ ที่ยากมากที่คุณจะคลำหาวิธีการที่ถูกต้อง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีใครให้คำแนะนำในการขับแล้ว แฟรนไชส์ก็จะเหมือนเครื่องบินเจ็ทที่จะนำคุณไปสู่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว
.:: ทำไมจึงต้องทำแฟรนไชส์ ::.
ในภาวะที่เม็ดเงินหายากอย่างนี้ โดยเฉพาะการชลอการปล่อยกู้ของธนาคาร ยิ่งทำให้หลายบริษัทมองหาวิธี การหาเงินแหล่งใหม่ แฟรนไชส์เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่หลายคนคิดถึง
.:: ข้อดีข้อเสียในการเลือกวิธีทำแฟรนไซส์ ::.
ในทางเลือกที่จะใช้เพื่อกระจายสินค้าในต้นทุนที่ต่ำ และก่อนที่คุณจะเลือกวิธีการใดนั้น จะชี้ให้คุณเห็นข้อดีข้อเสีย ของแต่ละวิธี
1. เลือกเป็นเจ้าของคนเดียว
ในการเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียวนั้น ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบุคคล หรือบริษัทก็ตามวิธีการนี้คุณก็จะขยายธุรกิจ โดยที่ตัวคุณเองเป็นผู้ควบคุมทุกอย่าง รวมทั้งการจ่ายเงินลงทุนของคุณเองลงไปทั้งหมด
หลาย ๆ คนชื่นชมกับการเติบโตโดยการขยายสาขาของตัวเอง แต่วิธีการนี้ก็มีข้อจำกัด เพราะการเปิดธุรกิจใหม่หนึ่งแห่ง คุณจะต้องเพิ่มเงินลงทุนไปประมาณ 3-4 ล้าน หรืออาจมากกว่า 50 ล้าน คำถามก็คือ คุณจะมีเงินขยายสาขาด้วยเงินของคุณเองได้ จำนวนเท่าไหร่ และทางไหนจะเป็นทางออกที่คุณแก้ได้
จะเห็นว่าการขยายธุรกิจ มีขีดจำกัดในการหาเงินทุน ซึ่งในที่สุดแผนการขยายตัวของคุณก็ต้องถูกปิดลง ข้อจำกีดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องบุคลากร บางที่คุณอาจจะมองเห็นช่องทางที่จะทำให้สินค้าของคุณขายได้มากขึ้น ด้วยการจ้างผู้จัดการที่เก่ง และพยายามรักษาเขาไว้ด้วยการ เพิ่มเงินพิเศษอย่างยุติธรรมตามผลกำไรที่คุณได้รับ ซึ่งมันก็ดูน่าจะได้ผลดี แต่ในไม่ช้ารายได้ของคุณก็จะตกลงมา เมื่อผู้จัดการตระหนักว่า รายได้ที่เขาได้รับนั้น ไม่สามารถทำให้เขารวยขึ้นได้
และถึงแม้ว่าการเป็นเจ้าของคนเดียวจะทำให้คุณได้ผลกำไร อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็จริง แต่คุณจะมีภาระในการจัดการ แบบวันต่อวัน เพิ่มขึ้น ตราบเท่าที่คุณขยายสาขาของคุณเองเพิ่มขึ้น
2. การมีหุ้นส่วน
หากธุรกิจของคุณต้องการเงินลงทุนจากผู้อื่น ทางเลือกนี้ดูเหมือนจะน่าสนใจ แต่ปัญหาในเรื่องนี้ก็คือ หลายธุรกิจเริ่มขึ้นมาร่วมกันจากความเป็นเพื่อน แต่มักจะจบลงด้วยความหายนะ จากความเห็นที่ไม่ลงรอยกันในเรื่องของแนวทางการทำธุรกิจ
ถ้าหุ้นส่วนของคุณเป็นผู้ที่ให้เงินคุณเพื่อขยายธุรกิจ คุณจำเป็นต้องเสียสละในการควบคุมธุรกิจด้วย ในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตามวิธีของคุณ จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนของคุณ
3. การเป็นดีลเลอร์
โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจที่ต้องการกระจายแหล่งขายสินค้าเพิ่มขึ้น ก็จะนิยมส่งผ่านไปยังตัวแทนที่เรียกว่าดีลเลอร์ แต่ก็มักจะพบปัญหาว่าการที่จะควบคุมให้ดีลเลอร์สร้างการเติบโตตามเป้าหมายนั้น เป็นเรื่องยากที่จะจูงใจให้ดีลเลอร์ ทำตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง ดีลเลอร์มีทางเลือกที่จะขายสินค้าของรายอื่น ที่พวกเขารู้สึกชอบมากกว่า หรือเลือกขายสินค้าที่ให้เงื่อนไขการชำระเงินที่นานกว่า ดีลเลอร์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจสินค้าใหม่ๆ ซึ่งถ้าคุณเป็นบริษัทเล็ก หรือเป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ ถึงแม้ว่าสินค้าของคุณ อาจจะมีคุณภาพเหนือกว่า แต่การใช้ระบบนี้อาจเป็นอุปสรรคสำหรับคุณ
4. การให้ไลเซ่นส์
บางบริษัทใช้วิธีการขยายธุรกิจด้วยการให้ระบบไลเซ่นส์ คือ อนุญาตให้ใช้สูตรในการผลิต หรือสอนกรรมวิธีการผลิต รวมทั้งอนุญาตให้ใช้ชื่อติดที่ตัวสินค้าด้วย ซึ่งส่วนใหญ่การใช้วิธีการนี้จะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูง และมักจะให้สิทธิ์แห่งหนึ่งเพียงรายเดียว แต่การไลเซ่นส์นี้จะไม่ลงลึกไปถึงการสนับสนุน เรื่องการจัดการธุรกิจ และการทำการตลาด ตัวอย่างธุรกิจที่ให้ไลเซ่นส์ ก็เช่น กลุ่มของดีไซน์เนอร์ ปิแอร์การ์แดง กีลาโรช ที่พวกเขาสามารถทำเงินได้ หลายพันล้านดอลล่าร์ โดยเก็บเกี่ยวจากการอนุญาตให้ใช้ชื่อของเขา หรือกลุ่มพวกสินค้าลิขสิทธิ์ตระกูลดัง ที่สามารถทำเงินได้ จากการขายชื่อ
เหตุผล 3 อย่างที่ทำให้ธุรกิจตัดสินใจเลือกทำธุรกิจในรูปแบบของไลเซ่นส์ คือ
เพื่อปกป้องชื่อของเขาจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มเดียวกัน
เพื่อเพิ่มความรู้จักสินค้าในตลาดให้กว้างขึ้น
เพื่อเพิ่มรายได้จากค่ารอยัลตี้ โดยส่วนใหญ่จะคิดประมาณ 5% ของยอดขายส่ง
แต่อย่างไรก็ตามวิธีการให้ไลเซ่นส์ ก็ยังมีความเสี่ยง ที่มีความเสี่ยงในการผลิตสินค้าคุณภาพด้อยลง ซึ่งมันจะทำลายภาพพจน์ของบริษัทของคุณให้มัวหมองด้วย
ถ้าคุณกำลังคิดจะใช้วิธีการให้ไลเซ่นส์ คำถามที่คุณต้องถามตัวเองก็คือ คุณกล้าที่จะอนุญาตให้ใครใช้ชื่อ ของคุณโดยปราศจากการควบคุม ตลอดทั้งระบบการดำเนินธุรกิจของคุณได้หรือไม่ และวัสดุที่แต่ละแห่งใช้นั้น คุณแน่ใจหรือไม่ว่าจะไม่มีผลต่อคุณภาพสินค้าของคุณ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น