วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:เลือกภรรยา กับเลือกแฟรนไชส์ อันไหนยากกว่ากัน




เรื่องต้องคิด-ต้องถาม  ก่อนการตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์นะพี่

ผมว่าเลือกแฟรนไชส์ก็คล้ายกับเลือกภรรยา
        อ่านแล้วรวยกำลังพูดถึงแฟรนไชส์ที่มีระบบเป็นมาตรฐานนะครับ  ซึ่งจะมีสัญญาผูกพันชัดเจน  ไม่ใช่ประเภทหลอกขายของโดยใช้ชื่อแฟรนไชส์แอบแฝง   ในสัญญาจะมีพวกนี้ครับ
      11 ข้อเกี่ยวกับสัญญาและข้อผูกพันที่ต้องพิจารณาครับพี่  ลองเขียนชื่อแฟรนไชส์ที่พี่สนใจสัก 5 ตัว เหมือนมีสาวๆมาติดพันเรา 5 คน  แล้วพี่ลองดูว่าแต่ละตัว(คน) 11 หัวข้อนี้เป็นอย่างไรบ้าง  ทำทุกตัวครบ 11 ข้อแล้วนำทั้ง 5 ตัวมาเปรียบเทียบกันนะครับ   จะพอมองได้ในมิติของสัญญาว่าแฟรนไชส์ไหนน่าจะดีที่สุด   ผมมองว่าแฟรนไชส์ที่ดีกว่ามักมีข้อสัญญาที่ชัดเจนและรัดกุมมากกว่า  ซึ่งก็เหมือนมิติด้านอื่นที่เขาคงชัดเจนและรัดกุมมากกว่าเช่นกัน  ถ้าเป็นผมนะพี่  ผมเลือกอันที่ชัดเจน/รัดกุม  ที่ไหนสัญญาหลวม  ระบบมันก็หลวมนั้นแหละ  เราต้องการซื้อระบบที่แข็งแรง  ถ้าทำหลวมๆ เราทำเองก็ได้  ไปเสียตังค์ให้มันทำไม 
                   1 แต่งงานอยู่กับภรรยาตลอดชีวิต แต่งกับแฟรนไชส์ละ อยู่นานเท่าไหร่
  ระยะเวลาของข้อผูกมัดคือ ช่วงเวลาที่สัญญาหรือนิติกรรมมีผลบังคับใช้ระหว่างแฟรนไชซอและแฟรนไชซี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกกำหนดโดยฝ่ายแฟรนไชซอ สัญญานี้อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีจนถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปยิ่งอายุสัญญานานเท่าใด ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ก็จะยิ่งมากขึ้น และเงื่อนไขของการต่อสัญญาก็มักจะมีการระบุไว้เรียบร้อย ในบางกรณี แฟรนไชซออาจอนุญาตให้มีการต่อสัญญาโดยมีระยะเวลานานเท่าเดิมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แต่สำหรับในบางกรณี แฟรนไชซออาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการต่อสัญญาใหม่ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะศึกษาว่าช่วงระยะเวลาของข้อผูกมัดยาวนานเท่าใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปในการซื้อแฟรนไชส์ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม เพื่อหาระยะเวลาในการคืนทุน  ข้อนี้แตกต่างกันนิดคือภรรยานั้นเขา(ไม่ใช่เรา)หวังว่าจะอยู่กับเราตลอดชีวิต แต่แฟรนไชส์เขาไม่ให้เราทั้งชีวิต
                 2 ค่าสินสอดทองหมั้น กับค่าธรรมเนียมแรกเข้า 
        ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นคือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซี่จะต้องค่ายให้แก่แฟรนไชซอ เพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในากรประกอบธุรกิจหรือใช้ตราหรือเครื่งอหมายการค้า/ บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดีแฟรนไชซอส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนรายจ่ายนี้   แฟรนไชส์ซอก็เหมือนพ่อตาแม่ยาย  เขาประเมินค่าลูกสาวเขาตามคุณสมบัติความงาม/ความรู้/ต้นทุนที่เขารักเขาเลี้ยงดู  เขาเลี้ยงมาดีเขาก็คิดแพง  คุณพ่อแฟรนไชส์ซอร์ก็คิดเหมือนกัน   ลูกเขยที่เชื่อพ่อตาก็จะเจริญทั้งนั้น ยกตัวอย่างเช่น การให้ความรู้และการอบรม ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า หรือออกแบบจุดขาย (outlet) ที่ได้แสดงการจัดวางตำแหน่งในพื้นที่ที่เหมาะสม การให้คำปรึกษา เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องพยายามสอบถามว่าจะได้รับขอเสนอในบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายไป โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเปิดดำเนินกิจการจนกระทั่งเกิดรายได้  อันนี้เหมือนกันเดะ  ของดีมักไม่ถูก  ต่างกันก็คือ แฟรนไชส์พาหนีไม่ได้
 3 ค่าเลี้ยงดูภรรยา กับ เงินรายงวด/ ค่าธรรมเนียมการจัดการ 
 
         เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซี่จะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอคิดเป็นอัตราร้อยละของยอดขายหรือรายได้ของกิจการตามรอบระยะเวลา ที่มักจะเป็นรอบรายเดือน ราย 2 เดือน หรือไตรมาส ก็เพื่อช่วยให้แฟรนไชซอสามารถตรวจสอบหรือควบคุม ในกรณีที่แฟรนไชซี่มีผลประกอบการที่ไม่ดีก็จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน แฟรนไชซออาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย (Marketing or Advertising Fee) ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขึ้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเปรียบก็เสมือนหนึ่งค่าภาษีที่ทุกคนในฐานะพลเมืองของประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาล เพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง


         เงินรายงวดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของเงินรายวงดนี้จะขึ้นอยู่กับการให้บริการเพิ่มเติมของแฟรนไชซอ ยิ่งมีการให้บริการต่างๆ มาก อัตราค่า Royalty บนยอดขาย มักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการให้บริการมักอยู่ที่ 8-10% อย่างไรก็ตาม อัตราเฉลี่ยข้างต้นมิได้หมายความว่าเป็นอัตราที่เหมาะสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานสนับสนุนของแต่ละธุรกิจ
4 ต้นทุนแต่งเรือนหอ กับ ต้นทุนการตกแต่งร้าน
        ต้นทุนการตกแต่งร้าน หมายถึงต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่แฟรนไชซี่จะต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของร้านค้าให้เหมือนกับที่แฟรนไชซอกำหนด ต้นทุนนั้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แม้จะต้องจ่ายไปก่อนที่จะเริ่มมีลูกค้าเข้าร้านก็ตาม
 5 ทะเบียนสมรส กับ ข้อตกลงแฟรนไชส์
        ข้อตกลง คือ สัญญาตามกฎหมายระหว่างแฟรนไชซอกับแฟรนไชซี่ ซึ่งระบุสิทธิ์และข้อผูกมัดระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขในการสิ้นสุดสัญญาและระยะเวลาที่สัญญาบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะถูกเขียนโดยทนายของฝ่ายแฟรนไชซอ ดังนั้นผู้สนใจจะเป็นแฟรนไชซี่ควรปรึกษาผู้มีความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในรายละเอียดก่อนที่จะเซ็นสัญญา เมื่อพบว่าเงื่อนไขมีความเข้มงวดจนเกินไป ก็ควรจะเจรจากับบแฟรนไชซอก่อนที่จะตกลงใจทำสัญญา
 6 ค่าใช้จ่ายในครอบครัว(ค่าอาหารภรรยา/ค่านมลูก) กับ ทุนดำเนินการของแฟรนไชส์
        แฟรนไชซี่จะต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่นค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแฟรนไชซอจะเสนอสินค้าและบริการให้ในลักษณะจ่ายเชื่อก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินไปเท่านั้น เมื่อถึงกำหนดเวลาแฟรนไชซี่ยังคงจะต้องจ่ายค่าสินค้าในที่สุด
 7 การเลี้ยงดูพ่อตาแม่ยาย กับเงื่อนไขการจ่ายเงิน
        โดยปกติแฟรนไชซอจะกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกับธุรกิจอื่นๆ เช่น 30 หรือ 60 วัน
 8 ที่ดินที่พ่อตายกให้ทำกิน กับ พื้นที่ประกอบการ

         โดยทั่วไปแล้วแฟรนไชซอจะไม่จัดตั้งร้านภายใต้แฟรนไชส์นั้นเพิ่มขึ้นภายในขอบเขตพื้นที่ที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงที่ทำไว้กับแฟรนไชซี่ทั้งนี้ ขอบเขตของพื้นที่การประกอบการอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและข้อตกลง ซึ่งถ้าหากแฟรนไชซี่ได้จำนวนมาก ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเล็กลงตามไปด้วยและรูปแบบการรับสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบบุคคล (Individual Franchise) ตรงข้ามหากแฟรนไชซอนั้นมีศักยภาพไม่เพียงพอในการให้การสนับสนุนสมาชิกจำนวนมากได้ ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเพิ่มมากขึ้นรูปแบบการรับสิทธิ์ก็อาจจะเป็นแฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่(Development Franchise) หรือ แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
         แต่ไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างฟไร ที่สำคัญยิ่งกว่าคือภายในขอบเขตพื้นที่นั้นๆ จะต้องมีจำนวนลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจที่มากพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแฟรนไชซอจำเป็นต้องใส่ใจหาวิธีการอ้างอิง หรือหาข้อมูลให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
 9 สิ่งที่พ่อตาส่วนใหญ่ไม่ให้ แต่แฟรนไชส์มีการจัดหาสินค้าและบริการให้
        แฟรนไชซอมักกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของสินค้าและ/ หรือบริการที่แฟรนไชซี่จะต้องรับจากตน และแฟรนไชซอบางรายอาจจะกำหนดให้สินค้าและบริการทั้งหมดต้องมาจากตนเนื่องจากเหตุผลในการคุมคุณภาพสินค้าและบริการ
 10 คำมั่นสัญญาทีให้ไว้กับพ่อตา กับการปฏิบัติตามข้อตกลงแฟรนไชส์
        แฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงอย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่าแฟรนไชซี่จะไม่กระทำการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และธุรกจิของแฟรนไชซี่รายอื่นๆ ดังนั้นแฟรนไชซอจึงมีสิทธิ์ในการบังคับสิ้นสุดสัญญา ในกรณีที่แฟรนไชซี่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังจากที่ได้รับคำเตือนซ้ำสอง ในทางตรงกันข้ามถ้าหากแฟรนไชซอเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเอง ฝ่ายแฟรนไชซี่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมาย
 11 ใบหย่า กับเงื่อนไขสำหรับสิ้นสุดการประกอบกิจการ
        โดยทั่วไป การที่ข้อตกลงของแฟรนไชส์จะสิ้นสุดลงอาจเกิดจากความเป็นไปได้ 3 ประการ กล่าวคือ
  • เมื่อสัญญาหมดอายุลง
  • เมื่อแฟรนไชซอทำการสิ้นสุดสัญญาหากมีการละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตามกรณีที่แฟรนไชซอจะทำการบังคับให้สิ้นสุดสัญญาก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่ไม่ปกติและไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากจะมีการละเมิดข้อตกลงจากแฟรนไชซี่เป็นประจำ
  • แฟรนไชซี่เลือกที่จะยกเลิกแฟรนไชส์ก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ
            แต่ง!เอ๊ย ซื้อเลยหรือเปล่าครับพี่  รู้หมดแล้ว  อย่าเพิ่งครับ  ใจเย็นๆ  เหมือนที่อ่านแล้วรวยบอกข้างต้น  อันนี้เป็นแค่มิติเดียว  ยังมีอีกหลายมิติที่ต้องนำมาพิจารณา  แต่ผมว่าพี่ล้าแล้วละครับ  ค่อยมาดูต่อครั้งหน้าแล้วกันนะพี่  วันนี้ดูเรื่องพ่อตากับเรา  เดี๋ยวต้องคุยเรื่องลูกสาวอีกยกใหญ่ โปรดอดใจรอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น