วันพฤหัสบดี

รวยด้วยแฟรนไชส์ :สร้างแฟรนไชส์ ต้องให้ได้อย่างนี้นะพี่ Franchise model

ในระบบธุรกิจแฟรนไชส์จะประกอบด้วยวิธีการหลายๆ ด้าน และไม่สามารถที่จะเน้นงานด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น การสร้างองค์ประกอบรวมในการทำธุรกิจที่ดี แกนหลักของระบบงานเป็นตัวนำ สามารถจะสร้างพื้นฐานการบริหารที่ดีขึ้นได้ หลักการต่างๆ ในรายละเอียดในแต่ละส่วนสามารถที่จะยึดเป็นหลักการดำเนินการดังนี้


1. สร้างระบบการบริหารงานหลายแบบ ในการวางระบบงานสาขาหรืออาจจะเป็นสาขาของบริษัทเองโดยตรง หรือระบบ Franchise และรวมถึงร่วมลงทุน Joint Venture ก็ตามควรจะมีวิธีการบริหารหลายรูปแบบ โดยไม่จำกัดการขยายงานในแบบเดียวเกินไป เพราะในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน การวางงานในหลายรูปแบบจะได้ช่วยนำข้อดี ข้อเสียมาปรับปรุงระบบโดยรวมทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น


2. สร้างตัวอย่างสาขาให้เด่น

รวยด้วยแฟรนไชส์:3 ปัจจัยเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์

FRANCHISE TIP : 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์ 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้ข้อคิด 3 ปัจจัยการเสียเปรียบเมื่อซื้อแฟรนไชส์เพื่อให้ผู้แฟรนไชซีใช้ในการพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ดังต่อไปนี้ 

1.ต้องสูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะแนวคิดของการทำแฟรนไชส์คือการดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอร์ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จของแฟรนไชซี ดังนั้นแฟรนไชซีจึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจ 

ด้วยเหตุที่แฟรนไชซีเป็นเจ้าของกิจการ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง การปฏิบัติงานและตัดสินใจหลายๆ เรื่อง จึงเป็นความรับผิดชอบอย่างเลี่ยงไม่ได้ ด้วยจุดนี้ที่ทำให้ผลเสียในด้านการสูญเสียการควบคุมโดยตรงเกิดขึ้นได้มาก หากระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ไม่ดีพอ หรือยากต่อการปฏิบัติ เพราะหากแฟรนไชซีไม่สามารถปฎิบัติได้อย่างที่แฟรนไชซอร์ทำแล้วละก็ตามธรรมชาติผู้รับผิดชอบก็ต้องหาหนทางอื่นที่จะทำ เนื่องจากต้องรับผิดชอบทำให้การทำงานเกิดการเบี่ยงเบนออกจากมาตรฐานต่างๆ ได้

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:พี่สร้างร้านแฟรนไชส์ต้นแบบแล้วหรือยัง Franchise Pilot Project


franchise/ แฟรนไชส์

Franchise Pilot Project ร้านต้นแบบแฟรนไชส์

         ถ้าจะกล่าวถึงการเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้น ร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project ถือว่าเป็นการเริ่มต้นระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ ที่สำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นจุดหลักในการเป็นต้นร่างของ โครงการ ที่เป็นภาพที่ เห็นเด่นชัดที่สุด เป็นแหล่งข้อมูล ในการจดบันทึก ทั้งตัวเลขและ วิธีการบริหารร้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นกรณีศึกษา ในการสร้างระบบ แฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบต่อไป
         นอกจากนี้ Pilot Project ยังมี ประโยชน์อีกมากมาย เช่น เป็นร้านตัวอย่าง เป็นสถานที่ฝึกงานของ แฟรนไชซี่ได้อีกด้วย เมื่อตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจ ในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ ที่จะบอกถึงทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย จะบอกถึงอุปสรรคต่าง ๆ ที่คาดไม่ถึง
 .:: ขั้นตอนของการทำ Pilot Project มีดังต่อไปนี้คือ ::.
1. วัตถุประสงค์

วันศุกร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:แบล็คแคนยอน Black Canyon Coffee


อ่านแล้วรวย     "รวยด้วยแฟรนไชส์"  วันนี้เลือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มอีกแบรนด์  "แบล็คแคนยอน คอฟฟี่" แฟรนไชส์จำหน่ายและให้บริการ กาแฟ อาหาร และเครื่องดื่มหลากหลายชนิด โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ คือ หมวดกาแฟและเครื่องดื่มต่างๆ ได้แก่ กาแฟร้อน, กาแฟเย็น, น้ำผลไม้, ไอศครีม, ของหวาน

ลักษณะกิจการร้านอาหาร
ชื่อธุรกิจ (ไทย)แบล็คแคนยอน คอฟฟี่
ชื่อธุรกิจ (อังกฤษ)BlackCanyon Coffee
ความเป็นมา
บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2536 เพื่อประกอบกิจการด้านอาหารและเครื่องดื่ม โดยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "แบล็คแคนยอน"

ธุรกิจของบริษัทฯ คือการเปิดบริการร้านกาแฟ และอาหารในศูนย์การค้าชั้นนำ ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ในการขยายสาขามีทั้งที่บริษัทบริหารเองและสาขาระบบ "แฟรนไชส์"

โดยทุกร้านจะตกแต่งสไตล์คันทรี่ ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ "กาแฟ" ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายประเภท รสชาติอร่อย เป็นกาแฟที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า "มีคุณภาพเยี่ยม" คัดเลือกจากกาแฟแท้ 100% จากสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของโลก
ลักษณะสินค้า
และบริการ
  • หมวดกาแฟ จำนวนมากกว่า 30 รายการ อาทิ กาแฟเย็นแบล็คแคนยอน เม็กซิกัน แบล็คค๊อฟฟี่แชมป์ กาแฟร้อนแบล็คแคนยอน โกลดี้แบล็ค เอสเปรสโซ มอคคา บลูเมาเทน เวียนนา คาปูชิโน คาเฟ ลาเต้ มอคคาลาเต้ มอคคาปูชิโน และกาแฟรสชาติต่าง ๆ อีกมากมาย
  • หมวดเครื่องดื่มทั่วไป จำนวนมากกว่า 20 รายการ อาทิ น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำสัปปะรด น้ำลิ้นจี่ นมสดร้อน-เย็น ช็อคโกแลตร้อน - เย็น ชามะนาว ชาร้อน - เย็น น้ำอัดลม เบียร์ เป็นต้น
  • หมวดอาหาร จำนวนมากกว่า 100 รายการ อาทิ ซุปสลัด เฟรนช์ฟราย แซนวิช สเต็ก สปาเก็ตตี้ มักกะโรนี ก๋วยเตี๋ยว ข้าวผัด ข้าวอบ ยำ ไส้กรอก ไก่ทอด ต้มยำ อาหารตามสั่งต่าง ๆ เป็นต้น 
ประเทศThailand  Thailand
ค่าแฟรนไชส์600,000 บาท
จำนวนสาขา206 สาขา
รายละเอียดสาขาปัจจุบันบริษัทมีสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ทั้งสิ้น 36 สาขา ใน 7 ประเทศ ได้แก่ สิงค์โปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ยูเออี จีนและอินโดนีเซีย
นโยบาย
การขยายสาขา
ขายแฟรนไชส์
การลงทุน
  • ค่าแฟรนไชส์ (Franchise Fee) 
    ค่าแฟรนไชส์ คือ ค่าธรรมเนียมการให้สิทธิ์ใช้ชื่อ "แบล็คแคนยอน (Black Canyon)" เพื่อเปิดดำเนินธุรกิจขายอาหาร และเครื่องดื่ม

    โดยมีอายุสัญญา 10 ปี และต่ออายุได้อีกทุก ๆ 10 ปี การให้สิทธิตามสัญญานี้จะกำหนดขอบเขตเฉพาะสถานที่ ซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น
ค่าแฟรนไชส์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 
    1. ร้านกาแฟ (Coffee Corner/ KIOSK) จำหน่ายเฉพาะกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหารว่าง ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 50 ตร.ม.
      หมายเหต : การขายประเภทนี้ ผู้รับสิทธิ์จะไม่ประกอบหรือปรุงอาหารภายในร้าน และจะจำหน่ายเฉพาะอาหารว่างเท่านั้น
      **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 600,000 บาท **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 150,000 บาท 
    2. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร (Restaurant) จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม และอาหาร
      1. Mini Restaurant จำหน่ายกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารว่าง อาหารจานเดียว อาหารประเภทยำ ที่ปรุงโดยไม่ใช้เตาแก๊ส ขนาดพื้นที่ไม่เกิน 100 ตร.ม.
        **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 800,000 บาท
        **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 200,000 บาท
      2. Family Restaurant ขายกาแฟ เครื่องดื่ม อาหารทุกประเภท ขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ตารางเมตร พื้นที่ เพียงพอต่อการมีห้องครัวเพื่อปรุงอาหารได้อย่างสะดวก
        **ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 1,000,000 บาท
        **ค่าประกันความเสียหายและหนี้สิน 200,000 บาท
  • ค่าโรยัลตี้ (Royalty Fee) และค่าช่วยส่งเสริมการตลาด (Marketing Promotion Fee)

    ค่าโรยัลตี้ คือ ค่าลิขสิทธิ์หรือค่าผลประโยชน์ตอบแทนภายใต้ชื่อ "แบล็คแคนยอน" เพื่อดำเนินธุรกิจจำหน่ายอาหารและ เครื่องดื่ม ในเครือข่ายระบบเดียวกัน

    ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คือ ค่าใช้จ่ายที่ร้านสาขาแบล็คแคนยอนชำระ เพื่อนำมาเป็นกองทุนสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการตลาด และส่งเสริมการขาย เช่น การโฆษณา ฯลฯ
    1. ค่าโรยัลตี้ คำนวณ 3% ของยอดขายหักค่าวัตถุดิบที่สั่งซื้อ จากบริษัทฯ เช่น เมล็ดกาแฟ โดยจะคำนวณตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป เงินค่าโรยัลตี้ขั้นต่ำต่อปี คือ
      **Coffee Corner 100,000 บาท
      **Restaurant 200,000 บาท
    2. ค่าช่วยส่งเสริมการตลาด คำนวณ 2% ของยอดขายหักค่าวัตถุดิบ ที่สั่งซื้อจากบริษัทฯ
  • ค่าสำรวจสถานที่
    จะคิดค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ในกรณีสำรวจพื้นที่ภายใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ต่างจังหวัดจะคิดค่าธรรมเนียม 10,000 บาท + ค่าที่พักและค่าเดินทาง หากมีการเซ็นสัญญาค่าธรรมเนียมนี้ จะถูกนำไปหักออกจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์

    ในกรณีที่บริษัทพิจารณาแล้วเห็นว่า สถานที่ที่มีความเหมาะสม บริษัทจะเป็นผู้เช่าดำเนินการเซ็นต์สัญญาเช่าสถานที่ และ / หรือ สัญญาอื่นใด กับศูนย์การค้าหรือเจ้าของสถานที่เช่า ในนามของ บริษัทเอง

    ในส่วนของผู้รับสิทธิ์ บริษัทจะแจ้งให้ทำสัญญาเช่า สถานที่ และ / หรือสัญญาอื่นใด กับบริษัทฯ ซึ่งผู้รับสิทธิ์จะต้องเข้าทำสัญญา และชำระค่าเช่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเช่าทั้งหมด
  • ค่าออกแบบ 
    ผู้ได้รับสิทธิ์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการออกแบบตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น การออกแบบจะต้องยึดถือ นโยบายของบริษัทฯ โดยเคร่งครัด โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายในการออกแบบจะตกประมาณ 8 - 15% ของค่าก่อสร้างและตกแต่ง
  • ค่าตกแต่งสถานที่ และค่าป้ายชื่อร้าน 
    ผู้รับสิทธิ์ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าตกแต่งร้านทั้งหมด และค่าป้ายชื่อร้านตามรูปแบบที่กำหนด ผู้รับสิทธิ์สามารถจะ ใช้บริการจาก ผู้รับเหมา ก่อสร้างที่หามาเอง หรือจากผู้รับเหมาที่บริษัทฯ แนะนำให้ก็ได้ โดยทั่วไปงบประมาณ ในการตกแต่ง สถานที่จะตกประมาณ 8 แสน - 1.5 ล้านบาท สำหรับ Coffee Corner และตกประมาณ 2 - 4 ล้านบาท สำหรับร้านอาหาร ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

  • ค่าอุปกรณ์เครื่องครัว 
    ภาชนะบรรจุเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ และเครื่องแต่งกาย ผู้รับสิทธิ์จะต้องจัดซื้อตามรูปแบบ และมาตรฐานที่กำหนดโดย บริษัทฯ งบประมาณเพื่อลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 2 - 4 แสนบาท สำหรับ Coffee Corner และ 4 - 6 แสนบาท สำหรับร้านอาหาร

  • เครื่องเก็บเงิน (ระบบคอมพิวเตอร์ Point of Sales)
    ผู้รับสิทธิ์จะต้องซื้อเครื่องเก็บเงิน และซอฟท์แวร์จากบริษัทฯ เพื่อให้แคชเชียร์ใช้ในการเก็บข้อมูลออร์เดอร์จากลูกค้า คำนวณค่าอาหาร สรุปยอดขาย ฯลฯ งบประมาณลงทุน ด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ประมาณ 1 - 1.2 แสนบาท

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และค่าธรรมเนียมขออนุญาตทางราชการ
    ผู้รับสิทธิ์ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการขอจดทะเบียน สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ต่อ กรมทรัพย์สินทาง ปัญญา จำนวน 800 บาท ตลอดจนค่าอากร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่เกิน 2,500 บาท โดยบริษัทฯ เป็นผู้ดำเนินการ ค่าใช้จ่ายนี้อาจมี การเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 
    จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียน เพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ (อัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายข้างต้น บริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบ
ระยะเวลาคืนทุน-
คุณสมบัติ
ผู้ลงทุน
-
สิ่งที่แฟรนไชส์ซี่
จะได้รับ
  1. สิทธิ์ในการใช้ชื่อและรูปแบบอันเป็นเอกลัษณ์ของ "แบล็คแคนยอน" ที่มีชื่อเสียง
  2. สิทธิในการซื้อเมล็ดกาแฟแท้ "แบล็คแคนยอน" ประเภทต่าง ๆ จากทางบริษัทฯ
  3. ช่วยเหลือในการออกแบบร้าน ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งร้าน งานระบบต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบท่อ ดูดควัน ระบบแก๊ส ระบบประปา เพื่อให้ได้มาตรฐาน
  4. ช่วยเหลือในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุและเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่มีสัญลักษณ์ "แบล็คแคนยอน"
  5. ช่วยเหลือในการจัดหาตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ในการประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
  6. ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ เกี่ยวกับการปรุงอาหารและกาแฟ ภายใต้สูตร "แบล็คแคนยอน"
  7. การฝึกอบรมพนักงานทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมเอกสารประกอบการอบรม
  8. ช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการขาย รวมทั้งจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ เกี่ยวกับสินค้าและ สาขาต่าง ๆ ที่เปิดดำเนินการ
  9. ประสานงานและขอติดตั้งเครื่อง Post Mix ของน้ำอัดลมและติดตั้งตู้ไอศกรีม
  10. ช่วยเหลือในการจัดหาเครื่องเก็บเงินระบบคอมพิวเตอร์ (POS) เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลออร์เดอร์ลูกค้า คำนวณค่า อาหารและวิเคราะห์ยอดขาย ทั้งนี้ผู้รับสิทธิ์จะต้องซื้อซอฟท์แว์จากทางบริษัทฯ
  11. เอกสารคู่มือการบริหารร้าน และงานบุคคล คู่มือวิธีการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม สูตรและต้นทุนอาหารและ เครื่องดื่ม
  12. ภาพลักษณ์ของ "แบล็คแคนยอน" ที่มีฐานลูกค้าอยู่ทั่วทั้งประเทศ ทำให้กิจการมีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว มีโอกาส ประสบความสำเร็จสูงกว่าการสร้างธุรกิจของตนเอง
  13. สิทธิ์ในการทำธุรกิจของตนเอง เป็นนายของตนเอง มีความภาคภูมิใจ และมีพันธมิตรทางธุรกิจที่จะคอยให้ความ ช่วยเหลือเมื่อต้องการ 
อื่นๆ
หมายเหต : ผู้รับสิทธิ์ที่ทำทุจริตโดยนำกาแฟชนิดอื่นที่มิใช่ของ "แบล็คแคนยอน" มาขายและให้บริการลูกค้า โดยทำให้ผู้บริโภคหลงผิด คิดว่าเป็นกาแฟ "แบล็คแคนยอน" จะถูกดำเนินคดี ทั้งทางแพ่งและทางอาญาอย่างเคร่งครัด 


ชื่อผู้ติดต่อบริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
ที่อยู่2991/8 ถนนลาดพร้าว ซอย 101/3 บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทร.02-376-0014-8
โทรสาร02-376-0019
อีเมล์-
เว็บไซต์blackcanyoncoffee.com

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:สัญญากับแฟรนไชส์

         อ่านแล้วรวย ช่วงนี้ค้นข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ  "สัญญาแฟรนไชส์" มาให้นำมาเป็นส่วนประกอบในการเลือกแฟรนไชส์

                    ระบบแฟรนไชส์ คือ ระบบซึ่ง  บุคคลหนึ่ง กล่าวคือ ผู้ขายแฟรนไชส์  อนุญาตให้  บุคคลอีกคนหนึ่ง คือ  ผู้ซื้อแฟรนไชส์  ใช้เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า ตลอดจนสูตรลับ กรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้ขายแฟรนไชส์ กับสินค้าหรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านระบบบัญชี การเงิน การวางแผนการตลาด กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ขายแฟรนไชส์จะควบคุมคุณภาพของสินค้า หรือบริการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ และวิธีดำเนินกิจการของผู้ซื้อแฟรนไชส์ในบางประการด้วย

จากที่กล่าวมา การซื้อขายแฟรนไชส์จึงเป็นการซื้อขายระบบ มิใช่เป็นเพียงการซื้อขายป้ายสำหรับไปติดที่หน้าร้าน หรือที่ตัวสินค้าเท่านั้น ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ก็ยังได้กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าของตน ต้องนำสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าไปจ! ดทะเบียนกับนายทะเบียน โดยในคำขอจดทะเบียนต้องระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้ากับผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น สามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริงด้วย

2. ทำไมถึงต้องทำแฟรนไชส์

วันอาทิตย์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ Franchise Tips

Franchise Tips : กลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนชส์ ธุรกิจ)

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเจรจาต่อรองในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อให้แฟรนไชซอร์ (บริษัทแม่) และแฟรนไชซี (สาขา) ได้เข้าใจถึงการทำธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องตามหลักมาตรฐานและป้องกันความผิดพลาด ดังนี้

1.ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ในความหมายของธุรกิจแฟรนไชส์หมายถึงค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซีจะต้องจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้า หรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

โดยแฟรนไชซอร์ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้ เช่นการให้ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า ดังนั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะต้องดูว่าจะได้รับเสนอบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป

2.เงินรายงวด/ค่าธรรมเนียมการจัดการ เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอร์เป็นรายเดือน โดยคำนวณจากสัดส่วนของยอดขายสุทธิในแต่ละเดือน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน โดยแฟรนไชซอร์อาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขายให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง 

วันเสาร์

รวยด้วยแฟรนไชส์:กฏข้อห้ามในการเลือซื้อแฟรนไชส์

   อ่านแล้วรวย วันนี้ที่จะเล่าเป็นเรื่องเนื้อๆเน้นๆครับ  เพราะคนที่เลือกลงทุนแฟรนไชส์เกือบ 90%เป็นการลงทุนซื้อแฟรนไชส์ครั้งแรก  ดังนั้นต้องบอกต้องเตือนก่อนตัดสินใจซื้อ  มีอะไรบ้างหรือครับ
กฎต้องห้ามในการเลือกซื้อแฟรนไชส์
            มีเหตุเกิดขึ้นในหลายกรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์มักถูกหลองลวงจากผู้ที่ตั้งตัวเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ โดยที่เบื้องหลังไม่ได้มีธุรกิจอะไรเลย หรือในบางกรณีคือ เมื่อซื้อแฟรนไชส์แล้วกลับไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง จึงเกิดเป็นกรณีพิพาทตามมาในภายหลังได้ ดังนั้นข้อแนะนำเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์กับท่านได้

ต้องยอมรับว่าต้นเหตุของความผิดพลาดประการหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองที่ขาดความระมัดระวังหรือไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอันที่จริงการที่จะตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด หากลองพิจารณาตามเกณฑ์นี้

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยไม่ได้เยี่ยมชมบริษัท
มีหลายคนที่ตกลงปลงใจซื้อแฟรนไชส์จากกระดาษ 2-3 ใบ หรือจากคำพูดชวนเชื่อ ทั้งๆ ที่การลงทุนนั้นเป็นหลักหมื่นหลักแสนขึ้นไป โดยไม่เคยย่างกรายเข้าไปเยี่ยมชมบริษัทนั้น นี่คือความผิดพลาดที่ไม่อาจจะโทษใครได้ เพราะก่อนที่จะตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ใดๆ นั้น อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อจะต้องเข้าไปที่บริษัทนั้นเพื่อดูด้วยตาของตัวเองว่า เป็นบริษัทที่มีความมั่นคงหรือไม่ เปิดมานานเท่าไรแล้ว มีพนักงานกี่คน แต่ละคนทำอะไรบ้าง อย่างน้อยก็เพื่อให้มั่นใจในระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีตัวตนอยู่จริง

อย่าซื้อแฟรนไชส์โดยที่ไม่เห็นร้านค้า
ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ได้ย่อมต้องมีธุรกิจที่เปิดขึ้นแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีบริษัทอยู่จริงก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จนกว่าผู้ซื้อจะได้เข้าไปดูร้านที่เปิดดำเนินการขึ้นมาแล้วว่ามีคนมาใช้บริการหรือไม่ มากน้อยเพียงใด บริษัทมีร้านของตัวเองอยู่ที่ไหนบ้าง และมีร้านของแฟรนไชส์อยู่ที่ไหนบ้าง ยิ่งหากมีโอกาสไปเยี่ยมชมมากเท่าไร ผู้ซื้อก็จะยิ่งได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากเท่านั้น

อย่าลืมพูดคุย
ในการไปเยี่ยมชมกิจการแต่ละครั้ง อย่างน้อยที่สุดผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรสอบถามเจ้าของร้านหรือพนักงานที่ร้าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเรื่องลูกค้า รายได้ ยอดขาย ว่าสม่ำเสมอทุกเดือนหรือไม่ เพื่อจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด

ไปหลายๆ แห่ง
ถ้าจะให้ดีผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรที่จะไปเยี่ยมร้านค้าหลายๆ แห่ง เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดในข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทำเลที่ตั้ง หรือการบริหารงานในร้านสาขานั้นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นจึงควรที่จะไปเยี่ยมหลายๆ สาขาเท่าที่จะสามารถให้ข้อสรุปแก่ตัวเองได้ เพื่อเป็นการประมวลและเปรียบเทียบข้อมูลว่ากิจการแฟรนไชส์นั้นน่าลงทุนหรือไม่

อย่าชื้อแฟรนไชส์ที่อายุน้อย
ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สุดในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ เพราะธุรกิจที่เพิ่งเปิดดำเนินการหรือมีอายุเพียงแค่ 1-2 ปี นั่นหมายความว่าธุรกิจนั้นย่อมขาดประสบการณ์ที่เพียงพอ และไม่มีทางที่จะให้คำปรึกษาที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงควรตัดตัวเลือกนี้ทิ้งไปเป็นอันดับแรกสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เปิดขึ้นมาแค่ไม่กี่ปี เพราะนอกจากจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสำเร็จของตัวเองได้แล้ว ยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับนักลงทุน

อย่าซื้อกิจการที่ยังไม่ได้กำไร
ถึงแม้ว่าจะเป็นการยากที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะล่วงรู้ถึงตัวเลขและผลกำไรในธุรกิจนั้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือต้องเกรงใจที่จะยิงคำถามตรงๆ กับเจ้าของแฟรนไชส์ โดยคำตอบที่ได้อาจเป็นการคำนวณอย่างคร่าวๆ แต่อย่างน้อยก็จะสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ว่าธุรกิจนั้นๆ น่าลงทุนแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม ข้อที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดที่ต้องพิจารณาให้มากที่สุดคือ ตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เองมีความตั้งใจและพร้อมที่จะต่อสู้มากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่วนมากยังเข้าใจผิดอยู่ก็คือ คิดว่าเมื่อกำเงินมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์แล้วจะต้องได้กำไรกลับคืนมาแน่นอน และคาดหวังว่าบริษัทแม่จะเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างให้เสร็จสรรพ แต่ในความเป็นจริงก็คือ ความสำเร็จของธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวผู้ประกอบการเองที่มีความเอาใจใส่และรอบรู้ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์จะมาจากตัวผู้ลงทุนเอง ส่วนอีก 20 เปอร์เซ็นต์คือความช่วยเหลือในการก่อตั้งของบริษัทแม่